ฐานข้อมูลบัญชีของเสีย
กลุ่มของเสียอุตสาหกรรมยานยนต์
น้ำยาล้างคราบน้ำมัน

ประเภทของเสีย
กลุ่มของเหลวจากการผลิต

ชนิดของเสีย
น้ำยาล้างคราบน้ำมัน

ตัวอย่างของเสีย
น้ำยาล้างคราบน้ำมัน

องค์ประกอบหลัก
-    ไอโซพาราฟิน (Isoparaffin) : 60%

-    Modular multiplication-based block cipher : 35%

-    อื่นๆ (Other) : 5%

คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- จุดเดือด (Boiling point) : 75-120 °C

- ความดันไอ (Vapour pressure) : 8500 Pa ที่ 20 °C

- ความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) : 0.740 g•m-3  ที่ 15 °C

- ค่าความสัมพันธ์ในการกลายเป็นไอ (Relative evaporating rate) : 5.7

- ความหนาแน่น (Density) : 0.743 g•m-3 ที่ 15 °C

- ความหนืดไคเนมาติก (Kinetic viscosity) : 0.66 mm2•s-1

- จุดวาบไฟ (Flash point) : (-13)°C

- เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตรที่สารสามารถลุกติดไฟ (Flammable limits) :

·      1.0% (ปริมาณเปอร์เซ็นต์ของแก็สหรือไอระเหยขั้นต่ำที่ผสมกับอากาศจนเกิดเป็นส่วนผสมที่เหมาะสมที่ทำให้เกิดการระเบิดได้)

·      7.0%(ปริมาณเปอร์เซ็นต์ของแก็สหรือไอระเหยมากที่สุดที่ผสมกับอากาศจนเกิดเป็นส่วนผสมที่เหมาะสมที่ทำให้เกิดการระเบิดได้)

- จุดลุกติดไฟได้เอง (Autoignition temperature) 250°C


คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- มีน้ำมันเป็นองค์ประกอบหลักมากกว่า 60% ขององค์ประกอบทั้งหมด

กระบวนการรีไซเคิล
- นำเข้ากระบวนการแยกน้ำมันออกจากน้ำ


  • Centrifugal Separation เป็นการหมุนเหวี่ยงน้ำมัน อาศัยหลักการความแตกต่างของ        ความถ่วงจำเพาะ ซึ่งจะได้ผลมากเมื่อหมุนเหวี่ยงด้วยความเร็วสูง ส่งผลให้สามารถแยกน้ำที่ไม่รวมกับน้ำมันได้ดีกว่าการใช้แรงโน้มถ่วง

  • Coalescing Separation เป็นวิธีที่ช่วยให้ละอองน้ำที่ลอยตัวในน้ำมันหรือ Emulsified water เกาะตัวกันและมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้แยกตัวออกจากน้ำมันได้ง่าย โดยจะได้ผลดีกับน้ำมันที่มีความหนืดน้อย


Gravity Separation เป็นการใช้แรงโน้มถ่วงของโลก เนื่องจากน้ำมีความถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำมันไฮโดรลิค จะทำให้น้ำมันตกสู่ก้นถัง


ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
- เชื้อเพลิงจากน้ำยาล้างคราบน้ำมัน

- น้ำมันจากน้ำยาล้างคราบน้ำมัน

ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
- วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)

- เชื้อเพลิงทดแทน (Alternative fuel)

ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 57(1) โรงงานประกอบกิจการการทำซีเมนต์ ปูนขาวหรือปูนปลาสเตอร์

- ลำดับที่ 106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550

- พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

- พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535

- ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548

- ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ของผู้ประกอบกิจการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2550

- ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยเรื่องรายละเอียดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 105 และลำดับที่ 106 พ.ศ. 2545

- ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดลักษณะของน้ำมันใช้แล้วที่ผ่านกระบวนการปรับคุณภาพ และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่จะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในเตาอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนน้ำมันเตา พ.ศ. 2547


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1]    http://market.onlineoops.com/6999/en_US

[2]    http://www.jaideeplaza.com

[3]    http://www.stmthai.com/images/intro_1166344374/B-CLEANER%20MSDSThai.pdf

[4]    http://www.oilservethai.com

slot88