ฐานข้อมูลบัญชีของเสีย
กลุ่มของเสียอุตสาหกรรมยานยนต์
สารป้องกันการแข็งตัว (Coolant oil)

ประเภทของเสีย
กลุ่มน้ำมันที่ใช้แล้ว

ชนิดของเสีย
สารป้องกันการแข็งตัว (Coolant oil)

ตัวอย่างของเสีย
Coolant oil จากกระบวนการผลิตเครื่องยนต์

องค์ประกอบหลัก
- เอทิลีนไกลคอล(Ethylene glycol, 1,2-ethanediol) : 100 %

คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- จุดเดือด (Boiling point) : 197.60°C (ที่ 101.3 กิโลปาสคาล)

- จุดเยือกแข็ง (Freezing point) : (-13) °C

- ความหนาแน่น  (Density) : 1.1135 g•cm-3  (ที่ 20 °C)

- ดัชนีการหักเหแสง (Refractive index; nD20) : 1.4318

- พลังงานที่ใช้ในการระเหย (Heat of vaporization) : 52.24 kJ•mol-1 (ที่ 101.3 กิโลปาสคาล)

- พลังงานความร้อนที่ปลดปล่อยออกมา (Heat of combustion) : 19.07 MJ•kg-1

- อุณหภูมิวิกฤต (Critical temperature) : 372 °C

- ความดันวิกฤต (Critical pressure) : 6515.73 kPa

- ปริมาตรวิกฤต (Critical volume) : 0.186 L•mol-1

- จุดวาบไฟ (Flash point) : 111 °C

- อุณหภูมิที่ลุกติดไฟ  (Ignition temperature) : 410 °C

- ปริมาณไอระเหยของเชื้อเพลิงชขั้นต่ำที่สามารถทำให้ระเบิดได้ (Lower explosive limit)  : 3.20 vol%

- ปริมาณเปอร์เซ็นต์ของแก๊สหรือไอระเหยมากที่สุดที่จะทำให้เกิดการระเบิดได้ (Upper explosive limit) : 53 vol%

- ความหนืด (Viscosity) : 19.83 mPas (ที่ 20°C)

- สัมประสิทธิ์ความดันสัมพันธ์ (Cubic expansion coefficient) : 0.62×10-3 K-1 (ที่ 20°C)

คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
ไม่ระบุคุณสมบัติเฉพาะ สามารถเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ทันที

กระบวนการรีไซเคิล
- กรองเพื่อเอาของแข็งออกจาก Coolant oil

- เข้ากระบวนการ Coolant recycling system (CRS) ระบบที่ผลิตมาไว้สำหรับการรีไซเคิลโดยเฉพาะ ซึ่งมีการออกแบบระบบรีไซเคิลที่สามารถตั้งค่าปริมาณของสารหล่อเย็นให้เหมาะสมกับน้ำมันที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว พร้อมทั้งภายในเครื่องยังมีการประมวลผลอย่างต่อเนื่องเพื่อนำเอาสารที่ปนเปื้อนออกจากระบบ และมีการใส่แบคทีเรียเพื่อสามารถทำให้นำสารหล่อเย็นกลับมาใช้ได้

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
- Coolant oil

ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
- วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)

ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 57 (1) โรงงานประกอบกิจการการทำซีเมนต์ ปูนขาวหรือปูนปลาสเตอร์

- ลำดับที่ 106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550

- พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

- พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535

- ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548

- ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ของผู้ประกอบกิจการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2550

- ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยเรื่องรายละเอียดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 105 และลำดับที่ 106 พ.ศ. 2545

- ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดลักษณะของน้ำมันใช้แล้วที่ผ่านกระบวนการปรับคุณภาพ และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่จะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในเตาอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนน้ำมันเตา พ.ศ. 2547


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1]    http://dpcontent.cummins.com/CP/cp_uk/html/general/en/content/Products_Coolant.html

[2]    http://www.oilsolution.net/solution/010.htm

[3]    http://www.sbioinformatics.com

[4]    http://www.smartskim.com/coolant.html

ceri138