กลุ่มของเสียอุตสาหกรรมยานยนต์
น้ำมันปนน้ำ
ประเภทของเสีย
กลุ่มน้ำมันที่ใช้แล้ว
ชนิดของเสีย
น้ำมันปนน้ำ
ตัวอย่างของเสีย
น้ำมันปนน้ำจากการทำความสะอาดในกระบวนการผลิต
องค์ประกอบหลัก
- น้ำมัน (Oil) : >50%
- น้ำ (Water) : <50%
คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- น้ำมันพื้นฐาน (Base oil)
- สารเพิ่มคุณภาพ (Additives)
คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- มีน้ำมันเป็นองค์ประกอบหลักมากกว่า 50% ขององค์ประกอบทั้งหมด
กระบวนการรีไซเคิล
- นำเข้ากระบวนการแยกน้ำมันออกจากน้ำ
- Centrifugal Separation เป็นการหมุนเหวี่ยงน้ำมัน อาศัยหลักการความแตกต่างของ ความถ่วงจำเพาะ ซึ่งจะได้ผลมากเมื่อหมุนเหวี่ยงด้วยความเร็วสูง ส่งผลให้สามารถแยกน้ำที่ไม่รวมกับน้ำมันได้ดีกว่าการใช้แรงโน้มถ่วง
- Coalescing Separation เป็นวิธีที่ช่วยให้ละอองน้ำที่ลอยตัวในน้ำมันหรือ Emulsified water เกาะตัวกันและมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้แยกตัวออกจากน้ำมันได้ง่าย โดยจะได้ผลดีกับน้ำมันที่มีความหนืดน้อย
Gravity Separation เป็นการใช้แรงโน้มถ่วงของโลก เนื่องจากน้ำมีความถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำมันไฮโดรลิค จะทำให้น้ำมันตกสู่ก้นถัง
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
- เชื้อเพลิงจากน้ำมันปนน้ำ
- น้ำมันจากน้ำมันปนน้ำ
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
- วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)
- เชื้อเพลิงทดแทน (Alternative fuel)
ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 57 (1) โรงงานประกอบกิจการการทำซีเมนต์ ปูนขาวหรือปูนปลาสเตอร์
- ลำดับที่ 106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550
- พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
- พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
- ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548
- ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ของผู้ประกอบกิจการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2550
- ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยเรื่องรายละเอียดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 105 และลำดับที่ 106 พ.ศ. 2545
- ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดลักษณะของน้ำมันใช้แล้วที่ผ่านกระบวนการปรับคุณภาพ และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่จะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในเตาอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนน้ำมันเตา พ.ศ. 2547
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
[1] http://news.discovery.com/tech/nanosubs-oil-120503.html
[2] http://www.oilservethai.com/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=11&Id=539121501
[3] http://www.oilservethai.com