ฐานข้อมูลบัญชีของเสีย
กลุ่มของเสียอุตสาหกรรมยานยนต์
น้ำมันเบรค

ประเภทของเสีย
กลุ่มน้ำมันที่ใช้แล้ว

ชนิดของเสีย
น้ำมันเบรค

ตัวอย่างของเสีย
น้ำมันเบรคจากกระบวนการผลิตระบบเบรคของยานยนต

องค์ประกอบหลัก
- โมโนเมทิล อีเทอร์+ไตรเอทิลีนไกคอล (Monomethyl ether+Triethylene glycol) : 0 - 35%

- โมโนเอทิล อีเทอร์+ไตรเอทิลีนไกคอล (Monoethyl ether+Triethylene glycol) : 0 - 45%

- โมโนบิวทิล อีเทอร์+ไตรเอทิลีนไกคอล (Monobutyl ether+Triethylene glycol) : 0 - 70%

- ไกคอล ฮีลวีส (Glycol heavies) : 0 - 35%

- โพลีแอลคีน ไกคอล (Polyalkylene glycol) : 0-10%

- โมโนบิวทิล+อีเทอร์ไดเอทิลีน ไกคอล (Monobutyl Ether+Diethylene Glycol) : 0 - 10%

- โมโนเมทิล อีเทอร์+ไดเอทิลีน ไกคอล (Monomethyl Ether+Diethylene Glycol) : 0 - 5%

โมโนเอทิล อีเทอร์+ไดเอทิลีน ไกคอล (Monoethyl Ether+Diethylene Glycol) : 0 - 2%

คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- จุดวาบไฟ (Flash point) : 121 – 135 °C

- ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) : 1.02 - 1.05

- ค่าการละลายน้ำ (Water solubility) : 100%

- จุดเดือด (Boiling point) : >430 °F


คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
มีน้ำมันเป็นองค์ประกอบหลักมากกว่า 60% ขององค์ประกอบทั้งหมด

กระบวนการรีไซเคิล
- กรองเพื่อเอาของแข็งออกจากน้ำมันเบรค

- นำน้ำมันมาผสมกับไฮโดรเจนร้อนในถังปฏิกรณ์ เพื่อให้เกิดการแยกสถานะระหว่างของเหลวกับไอ

- เร่งปฎิกิริยาที่เครื่องปฎิกรณ์เพื่อกำจัดโลหะที่ละลาย

- เข้าสู่กระบวนการเติมไฮโดรเจน (Hydro-finishing) เพื่อให้เกิดปฎิกิริยา


  • Desulfurization คือขบวนการกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ออกมาพร้อมก๊าซทิ้ง

  • Dechlorinition คือกระบวนการกำจัดคลอรีน

  • Aromatic saturation คือกระบวนการที่เกิดการอิ่มตัวของอโรมาติก

  • Hydrocracking คือกระบวนการแตกตัวโดยอาศัยตัวเร่งปฏิกิริยา โดยอาศัยการเพิ่มความดันของก๊าซไฮโดรเจนโดยหน้าที่ของไฮโดนเจน คือการทำให้สายของคาร์บอนบริสุทธิ์ปราศจากกำมะถันและไนโตรเจน


- ปรับปรุงคุณภาพทางเคมีและกลิ่น

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
- น้ำมันจากน้ำมันเบรค

ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
- วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)

ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 57 (1) โรงงานประกอบกิจการการทำซีเมนต์ ปูนขาวหรือปูนปลาสเตอร์

- ลำดับที่ 106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550

- พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

- พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535

- ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548

- ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วของผู้ประกอบกิจการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2550

- ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยเรื่องรายละเอียดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 105 และลำดับที่ 106 พ.ศ. 2545

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดลักษณะของน้ำมันใช้แล้วที่ผ่านกระบวนการปรับคุณภาพ และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่จะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในเตาอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนน้ำมันเตา พ.ศ. 2547


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1]    http://www.specestore.com/index.php?main_page=index&cPath=35622

[2]    https://www.lakeland.edu/AboutUs/MSDS /PDFs/199/STP%20Brake%20Fluid.pdf

[3]    http://www.lakeland.edu

[4]    http://www.oilservethai.com