ประเภทของเสีย
กลุ่มยาง
ชนิดของเสีย
เศษยางสังเคราะห์
ตัวอย่างของเสีย
เศษยางสังเคราะห์จากกระบวนการผลิตยางรถยนต์และปะเก็นยาง (Gasket)
องค์ประกอบหลัก
- ยางสังเคราะห์ (Synthetic rubber; SR) : 100%
คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- ความหนาแน่น (Density) : 0.788 - 0.921 g•cm-3 ที่ 20 °C
- ดัชนีหักเหแสง (Refractive index) : 1.445 - 1.508 ที่ 20 °C
- อุณหภูมิในการสลาย (Decomposition temperature) : >120 °C
- ค่าการนำความร้อน (Thermal conductivity) : 0.19 - 0.26 W•m-1•K-1
- อุณหภูมิการเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้ว (Glass transition temperature) : (-62) - (-72)°C
- อุณหภูมิสูงสุดในการใช้งาน (Maximum service temperature) : 90 °C
- ค่าการละลาย (Solubility) :
- ค่าการละลายของเฮนเซ้น (Hansen solubility parameter) : 4.7 - 16.4
- ค่าการละลายของฮิลเดอแบรน (Hildebrand solubility parameter) : 17.1 MPa0.5
- แรงตึงผิว (Surface tension) : 33.6 mN•m
-1
- ความทนของฉนวนไฟฟ้า (Dielectric strength) : 42 kV•mm
-1
- มุมสัมผัสกับน้ำ (Water Contact angle) : 112.1 degree ที่ 20°C
- พลังงานอิสระพื้นผิว (Surface free energy) : 33.2 mJ•m-2
คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
ไม่ระบุคุณสมบัติเฉพาะ สามารถเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ทันที
กระบวนการรีไซเคิล
- คัดแยกสารปนเปื้อนที่ไม่ใช่เศษสังเคราะห์
- แยกประเภทของยางสังเคราะห์ คือ Acrylonitrile butadiene rubber (NBR), Styrene-butadiene rubber (SBR), Ethylenepropylene diene rubber (EPDM), Silicone, Viton, Hypalon, Chloroprene neoprebe rubber (CR), Neoprene และ Urethane
- กระบวนการไพโรไลซีส (Pyrolysis) เป็นกระบวนการที่ให้ความร้อนแก่สารใดสารหนึ่ง เพื่อย่อยสลายโมเลกุลของสารนั้นให้มีขนาดเล็กลงในบรรยากาศที่ปราศจากออกซิเจนหรือมีออกซิเจนน้อย แต่ด้วยกระบวนการผลิตและสภาวะที่แตกต่างกันทำให้การไพโรไลซิสจะให้ก๊าซและน้ำมันเป็นผลิตภัณฑ์
- กระบวนการดีวัลคาไนเซชั่น (Devulcanization) การที่ยางทำปฏิกิริยากับกำมะถันในปริมาณที่พอเหมาะที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดหลอมเหลวของกำมะถัน โดยกำมะถันที่นำมาทำปฏิกิริยาด้วยนี้จะสร้างพันธะโคเวเลนต์เชื่อมระหว่างโซ่พอลิเมอร์ให้เป็นโมเลกุลเดียวกันทำให้ยางมีคุณภาพคงตัวในอุณหภูมิต่างๆ มีความยืดหยุ่นได้ดีมากขึ้น ทนความร้อนและแสงแดด ละลายในตัวทำละลายได้ยากขึ้น
- กระบวนการผสมยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ (Banbury mixing)
- กระบวนการใส่สารเคมีต่างๆ ทั้ง Carbon black, Vulcanizing agent, Protective agent และน้ำมัน
- กระบวนการทำลวดขอบยาง (Bundling)
- กระบวนการฉาบยาง (Coating)
- กระบวนการขึ้นรูปขอบลวด (Foaming)
- กระบวนการทำโครงผ้าใบและการฉาบยางกับผ้าใบ
- กระบวนการทำเส้นลวดเหล็กและการฉาบกับเส้นลวดด้วยเครื่องกดอัด (Extrusion machine) และเครื่องฉาบผ้าใบ (Calender machine)
- กระบวนการประกอบโครงยาง จะได้โครงยางสำเร็จรูป
- กระบวนการอบยาง (Curing) เป็นการอัดลายดอกยางลงบนโครงยางสำเร็จรูป
- กระบวนการตัดเนื้อยางส่วนเกิน (Trimming)
- กระบวนการตรวจสอบความสมดุลของยาง (Inspection)
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
- ยางรถยนต์
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
- วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)
ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 52 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับยาง
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550
- พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
- พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
- ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548
- ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ของผู้ประกอบกิจการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2550
- ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยเรื่องรายละเอียดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 105 และลำดับที่ 106 พ.ศ. 2545
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
[1] http://www.sainirubberindustries.com/rubber-bushing.html
[2] http:// www.sppindus.com
[3] George Wypych, 2012, Handbook of polymer, Vol.1, pp.422-424
[4] http:// www.rubbercenter.org
[5] http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?pageid=21&bookID=258&read=true&count=true
[6] Rader, Charless P, Baldwin, Sheryl D, Cornell, David D, Sadler, Georoge D, Stockel and Richaed F, 1995, Plastics, rubber and paper recycling