ฐานข้อมูลบัญชีของเสีย
กลุ่มของเสียอุตสาหกรรมยานยนต์
ยางรถยนต์

ประเภทของเสีย
กลุ่มพลาสติก

ชนิดของเสีย
ยางรถยนต์

ตัวอย่างของเสีย
ยางรถยนต์ที่ใช้ภายในโรงงาน

องค์ประกอบหลัก
- ยางสังเคราะห์ (Synthetic rubber; SR) : 60 - 65%

- ยางธรรมชาติ (Natural rubber; NR) : Balanced

- ผงเขม่าดำ (Carbon black; CB) : 29 - 31%

- ซิงค์ออกไซด์ (Zinc oxide; ZnO) : 1.9 - 3.3%

- ซัลเฟอร์ (Sulfur) : 1.1 - 2.1%

- น้ำมัน (Extender oil) : ~2%

- สารเติมแต่ง (Additives) : ~0.7%

คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- ทนความร้อนได้ : 80 °C

- ความต้านทานต่อการฉีก (Resistance to tearing) : ได้สูงทั้งที่อุณหภูมิต่ำและอุณหภูมิสูง

คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
ไม่ระบุคุณสมบัติเฉพาะ สามารถเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ทันที

กระบวนการรีไซเคิล
- คัดแยกสารปนเปื้อนที่ไม่ใช่ยางรถยนต์

- แยกยางรถยนต์จากลักษณะทางกายภาพ

-  ยางรถยนต์ที่มีสภาพที่ดี

·    กระบวนการดีวัลคาไนเซชั่น การที่ยางทำปฏิกิริยากับกำมะถันในปริมาณที่พอเหมาะที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดหลอมเหลวของกำมะถัน โดยกำมะถันที่นำมาทำปฏิกิริยาด้วยนี้จะสร้างพันธะโคเวเลนต์เชื่อมระหว่างโซ่พอลิเมอร์ให้เป็นโมเลกุลเดียวกันทำให้ยางมีคุณภาพคงตัวในอุณหภูมิต่างๆ มีความยืดหยุ่นได้ดีมากขึ้น ทนความร้อนและแสงแดด ละลายในตัวทำละลายได้ยากขึ้น

·    ยางรถยนต์

- ยางรถยนต์ที่มีสภาพไม่ดี

·          กระบวนการไพโรไลซีส เป็นกระบวนการที่ให้ความร้อนแก่สารใดสารหนึ่ง เพื่อย่อยสลายโมเลกุลของสารนั้นให้มีขนาดเล็กลงในบรรยากาศที่ปราศจากออกซิเจนหรือมีออกซิเจนน้อย แต่ด้วยกระบวนการผลิตและสภาวะที่แตกต่างกันทำให้การไพโรไลซิสจะให้ก๊าซและน้ำมันเป็นผลิตภัณฑ์

·      ผลิตภัณฑ์ของแข็งคาร์บอน ของเหลวเอททีลีน และก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นเชื้อเพลิง

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
- ยางรถยนต์

- เชื้อเพลิง

ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
- วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)

- เชื้อเพลิงทดแทน (Alternative fuel)

ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 52 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับยาง

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550

- พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

- พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535

- ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548

- ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ของผู้ประกอบกิจการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2550

- ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยเรื่องรายละเอียดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 105 และลำดับที่ 106 พ.ศ. 2545


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1]   http://www.ehow.com/list_7317602_companies-turn-old-tires-oil.html

[2]   http://www.siampattana.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539203276&Ntype=1

[3]   http:// www.sppindus.com

[4]   http:// www.electron.rmutphysics.com

[5]   http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?pageid=21&bookID=258&read=true&count=true

[6]   Rader, Charless P, Baldwin, Sheryl D, Cornell, David D, Sadler, Georoge D, Stockel and Richaed F,         1995, Plastics, rubber and paper recycling

[7]    http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X6428085/X6428085.html

[8]   http://promptmark.co.th/knowledge/pyrolysis_process.html

[9]   http://www.nmt.ac.th/product/polymer/7.htm