ฐานข้อมูลบัญชีของเสีย
กลุ่มของเสียครัวเรือน
ตู้เย็น

ประเภทของเสีย
กลุ่มของเสียจากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ชนิดของเสีย
ตู้เย็น

ตัวอย่างของเสีย
ตู้เย็น ขนาดและยี่ห้อต่างๆ

องค์ประกอบหลัก
- เหล็ก : ~ 45 – 53%

- โพลียูรีเทน : ~ 6.5 – 8.0%

- พลาสติกอื่นๆ : ~ 12 – 16%

- ทองแดง : ~ 5 – 6%

- แก้ว : ~ 1.4 – 1.5%

- อะลูมิเนียม : ~ 0 – 3%

- สารทำความเย็น : ~ 0.67 – 0.71%

คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- ตู้เย็นขนาด 7 – 10.2 คิว มีน้ำหนักเฉลี่ย ~ 50 กก.

คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- ตู้เย็นเก่าที่เสื่อมสภาพและไม่สามารถใช้งานได้

กระบวนการรีไซเคิล
- คัดแยกและรวบรวมของเสียตู้เย็น

- แยกส่วนประกอบ

- รวบรวมสารทำความเย็น และน้ำมันหล่อลื่น ส่งบริษัทรับกำจัด/บำบัดเฉพาะ

- ตัดบดคอมเพรสเซอร์ (Compressor) ด้วยเครื่องตัดบดแบบค้อนวงแหวน (Ring hammer crusher)

- ตัดบดสายไฟและโครงตู้ นำไปปั่นเหวี่ยงด้วยลม เพื่อแยกยูรีเทนโฟมออก

- แยกเหล็กด้วยเครื่องแยกชนิดแม่เหล็ก

- แยกโลหะ เช่น ทองแดง อะลูมิเนียม ด้วยเครื่องแยกโลหะ (Eddy current separator)

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
เหล็ก ยูรีเทนโฟม พลาสติก ทองแดง อะลูมิเนียม

ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)

ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2550


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] http://www.panasonic.co.th

[2] คู่มือการจัดการซากผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

[3] General Recycling Process of Television Set. http://www.aeha.or.jp

[4] T. Matsuto. Et al., 2004. Material and heavy metal balance in a recycling facility for home electrical appliances. Waste Management 24: 425-436

[5] โครงการสำรวจปริมาณและชนิดของซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม