ประเภทของเสีย
กลุ่มกระดาษ
ชนิดของเสีย
ฉลากกระดาษ
ตัวอย่างของเสีย
ฉลากสินค้าบนผลิตภัณฑ์ต่างๆ
องค์ประกอบหลัก
- เส้นใย : เยื่อบริสุทธิ์และเยื่อเวียนทำใหม่ (Recycled pulp)
- สารเติมแต่งต่างๆ (Additives)
คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- ความหนาแน่น (Density) : 0.16 g.cm-3
- ค่าพีเอช (pH) ในน้ำชะละลาย (Leachate) : 10.1 (ไม่กัดกร่อน)
- ความสามารถในการดูดซึมน้ำ (Water absorption) : 0.71%
- ปริมาณโลหะหนัก
ตะกั่ว 8.8 mg.kg-1
โครเมียม 203.3 mg.kg-1
นิกเกิล 8.6 mg.kg-1
ทองแดง 37.1 mg.kg-1
คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- ของเสียฉลากสินค้าที่ทำจากกระดาษ
- ของเสียฉลากสินค้าที่ไม่ปนเปื้อนด้วยสิ่งเจือปนต่างๆ เช่น เศษอาหาร คราบเลือด คราบน้ำมัน หรือสารเคมีอันตราย
กระบวนการรีไซเคิล
- คัดแยกและรวบรวมของเสียฉลากกระดาษ
- จากอัตราส่วนผสม ปูนซีเมนต์ : ทราย : หิน ที่ 1 : 1.2 : 1.8 โดยน้ำหนัก นำของเสียประเภทฉลากกระดาษแทนที่ทรายที่อัตราส่วนร้อยละ 3 โดยใช้ผงหินปูนแทนที่ปูนซีเมนต์ที่ร้อยละ 10 โดยน้ำหนักปูนซีเมนต์ โดยใช้อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์เท่ากับ 0.5
- นำส่วนผสมเข้าเครื่องผสม และนำไปอัดขึ้นรูปบล็อกประสาน
- บ่มในที่ร่ม 28 วันจะได้คอนกรีตบล๊อกประสานปูพื้นที่สามารถนำไปใช้ในงานก่อสร้างทั่วไป
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
คอนกรีตบล็อกประสาน
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)
ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 38 โรงงานผลิตเยื่อ หรือกระดาษ
- ลำดับที่ 39 โรงงานผลิตภาชนะบรรจุจากกระดาษทุกชนิดหรือแผ่นกระดาษไฟเบอร์
- ลำดับที่ 40 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับเยื่อ กระดาษ หรือกระดาษแข็ง
- ลำดับที่ 58 (1) โรงงานประกอบกิจการการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม หรือผลิตภัณฑ์ปูนปลาสเตอร์
- ลำดับที่ 106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2550
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
[1] http://www.talad2you.com/automobile/viewitem.php?id=267765
[2] เพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ และนรารัชต์ พรนวลสวรรค์. 2555. การนำของเสียประเภทฉลากกระดาษมาใช้ประโยชน์ในการทำคอนกรีตบล็อกประสานปูพื้นโดยใช้ผงหินปูน - ปูนซีเมนต์เป็นวัสดุประสาน. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 ม.ค. - เม.ย. 2555