ฐานข้อมูลบัญชีของเสีย
กลุ่มของเสียครัวเรือน
แบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออน

ประเภทของเสีย
กลุ่มของเสียจากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ชนิดของเสีย
แบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออน

ตัวอย่างของเสีย
แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่คอมพิวเตอร์พกพา

องค์ประกอบหลัก
- คาร์บอน/แกรไฟต์

- สารประกอบลิเทียม

- เหล็กกล้า

- ทองแดง

- โคบอลต์

- แมงกานีส

- ตัวทำละลายอินทรีย์

- พลาสติก

- กระดาษ

คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- ถ่าน AA มีน้ำหนักเฉลี่ย ~ 0.027 กก.

คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- แบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออนชนิดต่างๆ ที่เสื่อมสภาพและไม่สามารถใช้งานได้

กระบวนการรีไซเคิล
- คัดแยกและรวบรวมของเสียแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออน

- บดย่อย และแยกเหล็กออกจากพลาสติกและกระดาษด้วยเครื่องแยกชนิดแม่เหล็ก ได้เหล็ก พลาสติก และกระดาษ เพื่อที่จะนำไปรีไซเคิลต่อไป

- แยกโลหะด้วยเครื่องแยกโลหะ (Eddy current separator : ECS) ได้ทองแดง

- นำโลหะที่แยกได้มาสกัดคาร์บอนและลิเทียม โดยบีบอัดคาร์บอนให้เป็นแผ่นคาร์บอน

- ลิเทียมที่ถูกสกัดได้จะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปลิเทียมคาร์บอเนต (Li2Co3) และอัดให้อยู่ในรูปก้อนโลหะ เพื่อทำเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตแบตเตอรี่ต่อไป

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
ทองแดง เหล็ก ก้อนลิเทียม แผ่นคาร์บอนอัด พลาสติก กระดาษ

ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)

ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 74 (5) การทำหม้อเก็บพลังงานไฟฟ้า หรือหม้อกำเนิดพลังงานไฟฟ้าชนิดน้ำ หรือชนิดแห้ง และรวมถึงชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

- ลำดับที่ 106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2550


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] http://www.justlaptopbattery.com

[2] http://green.autoblog.com/

[3] โครงการการจัดทำระบบติดตามวงจรชีวิตของซากอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. ศูนย์วิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

[4] โครงการศึกษาหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์. กรมควบคุมมลพิษ

[5] http://www.ourtakeongreen.com

[6] โครงการสำรวจปริมาณและชนิดของซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม