ฐานข้อมูลบัญชีของเสีย
กลุ่มของเสียครัวเรือน
แบตเตอรี่อัลคาไลน์ และแบตเตอรี่สังกะสี-คาร์บอน

ประเภทของเสีย
กลุ่มของเสียจากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ชนิดของเสีย
แบตเตอรี่อัลคาไลน์ และแบตเตอรี่สังกะสี-คาร์บอน

ตัวอย่างของเสีย
ถ่านไฟฉายชนิดต่างๆ

องค์ประกอบหลัก
- สังกะสี

- แมงกานีส

- เหล็ก

- พลาสติก

- กระดาษ

- คาร์บอน/แกรไฟต์ (ใน Zn-C battery)

คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- ถ่าน AAA มีน้ำหนักเฉลี่ย ~ 0.022 กก.

คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- ถ่านอัลคาไลน์และถ่านสังกะสี-คาร์บอนชนิดต่างๆ ที่เสื่อมสภาพและไม่สามารถใช้งานได้

กระบวนการรีไซเคิล
- คัดแยกและรวบรวมของเสียถ่านอัลคาไลน์และถ่านสังกะสี-คาร์บอน

- แยกส่วนประกอบและสารละลายอิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte)

- ตัดให้เป็นชิ้นส่วนเล็กๆ

- บดชิ้นส่วนโลหะ ให้เป็นผงเล็กๆ ด้วยเเครื่องบดแบบลูกบอล (Ball mill)

- แยกเศษโลหะออกด้วยเครื่องแยกโลหะ (Eddy current separator) ได้กระดาษและพลาสติกสำหรับรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบใหม่ต่อไป

- โลหะที่ผ่านการแยก จะถูกนำมาชะด้วยน้ำและกรอง

- ผงผสมระหว่างแมงกานีสและคาร์บอนที่ผ่านการกรอง จะถูกเติมกรดซัลฟูริก (H2SO4) และนำไปเผา เพื่อแยกแมงกานีสในรูปออกไซด์ของแมงกานีส เช่น แมงกานีสไตรออกไซด์ (Mn2O3)

- สารละลายที่ผ่านการกรอง นำมาเติมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) ทำให้เกิดการตกตะกอนของเหล็กในรูปเฟอร์ริกไฮดรอกไซด์ (FeOH3) และถูกแยกสังกะสีโดยกระบวนการทางไฟฟ้า (Electrolysis)


ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
เหล็ก สังกะสี แมงกานีส พลาสติก กระดาษ

ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)

ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 74 (5) การทำหม้อเก็บพลังงานไฟฟ้า หรือหม้อกำเนิดพลังงานไฟฟ้าชนิดน้ำ หรือชนิดแห้ง และรวมถึงชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

- ลำดับที่ 106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2550


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] http://recycling.ncsu.edu/learnmore/batteries.php

[2] โครงการศึกษาหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์. กรมควบคุมมลพิษ

[3] Ferella. F. et al. 2008. Process for the recycling of alkaline and Zinc-carbon spent batteries. Journal of Power Sources 183: 805-811

[4] โครงการสำรวจปริมาณและชนิดของซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม