ฐานข้อมูลบัญชีของเสีย
กลุ่มของเสียครัวเรือน
แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด

ประเภทของเสีย
กลุ่มของเสียจากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ชนิดของเสีย
แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด

ตัวอย่างของเสีย
แบตเตอรี่รถยนต์

องค์ประกอบหลัก
- พลาสติก

- ตะกั่ว

- ยาง

- สารละลายกรดซัลฟูริก (H2SO4)


คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- น้ำหนักเฉลี่ย ~ 14.250 กก.

คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด ที่เสื่อมสภาพและไม่สามารถใช้งานได้

กระบวนการรีไซเคิล
- คัดแยกและรวบรวมของเสียแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด

- แยกส่วนประกอบ ได้สารละลายกรด ถังพลาสติก แผ่นตะกั่ว

- นำสารละลายกรด ไปทำให้มีค่าเป็นกลาง โดยการเติมแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ก่อนนำไปฝังกลบ

- ชิ้นส่วนพลาสติก นำไปล้างและทำให้แห้ง แล้วนำไปตัดเป็นพลาสติกชิ้นเล็กเพื่อหลอมเป็นพลาสติกใหม่

- แผงตะกั่วนำไปหลอมเป็นตะกั่วแท่ง


ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
พลาสติก ตะกั่วแท่ง

ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)

ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 74 (5) การทำหม้อเก็บพลังงานไฟฟ้า หรือหม้อกำเนิดพลังงานไฟฟ้าชนิดน้ำ หรือชนิดแห้ง และรวมถึงชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

- ลำดับที่ 106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2550


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] http://www.3kbattery.co.th

[2] การรีไซเคิล แบตเตอรี่รถยนต์. สถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

[3] D.C.R. Espinosa et al. 2004. An overview on the current processes for the recycling of batteries. Journal of Power Source 135: 311-319

[4] โครงการสำรวจปริมาณและชนิดของซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม