ประเภทของเสีย
กลุ่มของเสียจากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ชนิดของเสีย
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
ตัวอย่างของเสีย
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะยี่ห้อต่างๆ
องค์ประกอบหลัก
- โลหะ (ที่ไม่ใช่เหล็ก) เช่น ทองคำ ทองแดง : ~ 60%
- แก้ว : ~ 24.88%
- เหล็ก : ~ 20.47%
- พลาสติก : ~ 10 – 23%
- อะลูมิเนียม : ~ 14.17%
- ตะกั่ว : ~ 6.30%
คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- น้ำหนักเฉลี่ยเฉพาะหน่วยประมวลผลกลาง (Central processing unit; CPU) ~ 8.77 กก.
คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและส่วนประกอบภายในที่เสื่อมสภาพและไม่สามารถใช้งานได้
กระบวนการรีไซเคิล
- คัดแยกและรวบรวมของเสียเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
- แยกส่วนประกอบ โดยแยกแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Printed circuit board; PCB) และพลาสติกออก
- ใช้แม่เหล็กในการคัดแยกเหล็กและโลหะอื่นๆ และนำไปรีไซเคิล
- พลาสติกรวม นำไปบดย่อยและส่งเข้าเครื่อง Jig TaCUB เพื่อแยกประเภทพลาสติกโดยการ ปั่นเหวี่ยงและแยกตามความหนาแน่น ได้เป็นพลาสติก ABS (Acrylonitrile-butadiene-styrene) พลาสติก PS (Polystyrene) และพลาสติก PET (Polyethylene terephthalate)
- นำแผงวงจร PCB ไปชุบในน้ำยาลอกทอง
- สารละลายที่มีทองผสมอยู่ จะนำไปผ่านกระบวนการทางไฟฟ้าและกระบวนการทางเคมี เพื่อทำให้ทองบริสุทธิ์ และนำมาหล่อและอัดทองคำให้เป็นก้อน
- นำแผ่นแผงวงจร PCB ที่ผ่านการลอกทองออกแล้ว มาตัดและบดให้เป็นผงละเอียด และผ่านเข้าเครื่องแยกโลหะ เพื่อแยกผงโลหะผสมออกจากผงอโลหะผสม และนำไปอัดก้อน
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
ทองแดง ทองคำ เศษแก้ว เหล็ก พลาสติก อะลูมิเนียม
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)
ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2550
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
[1] http://www.comforu.com/PC.aspx
[2] คู่มือการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์. กรมควบคุมมลพิษ
[3] http://www.eeec.eng.ku.ac.th/diw-weee/files/20080807/technology_recycle.pdf
[4] โครงการสำรวจปริมาณและชนิดของซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม