ประเภทของเสีย
กลุ่มของเสียจากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ชนิดของเสีย
หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดตรง
ตัวอย่างของเสีย
หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดตรงขนาดและยี่ห้อต่างๆ
องค์ประกอบหลัก
- แก้ว : ~ 90%
- อะลูมิเนียม : ~ 6 – 7%
- สารฟอสเฟอร์ : ~ 3%
- ปรอท : ~ >1%
คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- น้ำหนักเฉลี่ย 0.173 กก.
คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดตรงที่เสื่อมสภาพและไม่สามารถใช้งานได้
กระบวนการรีไซเคิล
- คัดแยกและรวบรวมของเสียหลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดตรง
- ตัดส่วนขั้วหลอด (End cut method)
- เป่าอากาศ และดูดสารเคลือบเรืองแสง (ฟอสเฟอร์) และปรอท นำไปผ่านการกลั่นด้วยความร้อนเพื่อแยกฟอสเฟอร์ และทำให้ได้ปรอทบริสุทธิ์
- หลอดแก้ว ที่ผ่านการกำจัดฟอสเฟอร์และไอปรอทแล้ว จะถูกนำเข้าเครื่องบดย่อย ให้ได้เศษแก้วละเอียด และนำไปทำความสะอาดด้วยการล้างด้วยกรดอ่อน
- ขั้วหลอดที่ตัดทิ้ง จะนำไปผ่านเครื่องแยกโลหะแบบ Eddy current separator (ECS) ทำให้เกิดการแยกระหว่างอะลูมิเนียม พลาสติก และโลหะอื่นๆ
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
เศษแก้ว อะลูมิเนียม ปรอท
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)
ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
ลำดับที่ 106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2550
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
[1] http://matsushielectric.com
[2] โครงการศึกษาหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์. กรมควบคุมมลพิษ
[3] Fluorescent Lamp Disposal and Recycling in EPA Region 2. Environmental Protection Agency. USA
[4] โครงการสำรวจปริมาณและชนิดของซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม