ประเภทของเสีย
เซรามิก
ชนิดของเสีย
ผลิตภัณฑ์เซรามิก
ตัวอย่างของเสีย
แจกัน แก้วน้ำ จานชาม ฯลฯ
องค์ประกอบหลัก
- ดินขาว (Kaolin, China clay) เป็นส่วนผสมหลัก
- อะลูมิเนียมออกไซด์หรืออะลูมินา (Al2O3) : 39.8%
- ซิลิกอนไดออกไซด์หรือซิลิกา (SiO2) : 46.3%
- น้ำ : 13.9%
- ดินเหนียวดำ (Ball clay)
- อะลูมิเนียมออกไซด์หรืออะลูมินา (Al2O3) : 30%
- ซิลิกอนไดออกไซด์หรือซิลิกา (SiO2): 40 – 60%
- น้ำ (ในผลึกอินทรียสาร) : 10%
- ไทเทเนียมไดออกไซด์ (TiO2) เฟอร์ริกออกไซด์ (Fe2O3) แคลเซียมออกไซด์ (CaO) แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) โปแตสเซียมออกไซด์ (K2O) โซเดียมออกไซด์ (Na2O) : ปริมาณเล็กน้อย
- หินฟันม้า (Feldspar)
- โปแตสเซียมออกไซด์ (K2O) : 3.3 ˗ 13.1%
- โซเดียมออกไซด์ (Na2O) : 1.9 ˗ 12.9%
- เหล็ก (Fe) : 0.04 ˗ 0.2%
- ปูนปลาสเตอร์ และสีเติมแต่งต่างๆ
คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- ความเหนียว : ต่ำ
- ความแข็งแรง : สูง
- ความเปราะ : สูง (จึงแตกง่ายเมื่อโดนแรงกระแทก)
- การนำไฟฟ้า : ต่ำ (เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี)
- ความทนทาน
- ทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว
- ทนต่อปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation reaction)
คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- ของเสียผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ไม่ปนเปื้อนด้วยสิ่งเจือปนต่างๆ เช่น เศษอาหาร คราบเลือด คราบน้ำมัน หรือสารเคมีอันตราย
กระบวนการรีไซเคิล
- คัดแยกและรวบรวมของเสียผลิตภัณฑ์เซรามิก
- บดย่อยเพื่อลดขนาดด้วยเครื่อง Jaw crusher หรือ Roll crusher
- นำเศษเซรามิกมาบดเป็นผงละเอียดด้วยเครื่องบดแบบลูกบอล (Ball mill) ประมาณ 1 ˗ 5 วัน จะได้ผงเซรามิกรีไซเคิลที่ละเอียดคล้ายแป้ง
- ผงเซรามิกรีไซเคิลนี้ สามารถนำไปใช้ผสมกับผงเซรามิกใหม่ ในอัตราส่วนผงเซรามิกรีไซเคิลต่อผงเซรามิกใหม่ เท่ากับ 10 : 90 จากนั้นผสมกับน้ำ 30% และสารช่วยให้กระจายตัวได้ดี (Dispersant; CF44) ปริมาณ 0.2%
- ทำการขึ้นรูปด้วยวิธี Cold isostatic pressing (CIP) ที่อุณหภูมิห้อง ควบคุมความดัน 220 MPa นาน 15 นาที และให้ความร้อนแบบสะตุ (Sinter) ที่อุณหภูมิ 1,200
oC นาน 1 ชม. ในกระบวนการ CIP นี้ ผงโลหะจะถูกใส่ลงไปในแม่พิมพ์ที่ทำมาจากยางเพื่อขึ้นรูป
- ได้ผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ผลิตจากผงวัสดุเซรามิกรีไซเคิลที่มีคุณภาพดี และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อวัตถุดิบเซรามิกได้
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
ผลิตภัณฑ์เซรามิก
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)
ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2550
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
[1] http://siripornsai.blogspot.com/2012/01/blog-post_2515.html
[2] http://www.industrial.cmru.ac.th/Civil/wechsawan/materials/ch09/ch09.htm
[3] อมรสิทธิ์, แม้น. เอกสารประกอบการบรรยาย วัสดุวิศวกรรม.
Available online: www.coe.or.th/_coe/_download/training/p_materials.pdf
[4] Seo, D.S. et al. 2010. Recycling of waste porcelain for ceramic ware. Journal of Ceramic
Processing Research. 11 (4): 448 - 452.