ฐานข้อมูลบัญชีของเสีย
กลุ่มของเสียครัวเรือน
เศษไม้ธรรมชาติผสมเศษไม้อัด

ประเภทของเสีย
ไม้

ชนิดของเสีย
เศษไม้ธรรมชาติผสมเศษไม้อัด

ตัวอย่างของเสีย
เฟอร์นิเจอร์ไม้ธรรมชาติและไม้อัดที่ผุพังแล้ว

องค์ประกอบหลัก
- ไม้ธรรมชาติ

- ไม้อัด

คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
N/A

คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- เศษไม้ธรรมชาติและเศษไม้อัดที่แห้ง

- เศษไม้ธรรมชาติและเศษไม้อัดที่ไม่ปนเปื้อนด้วยสิ่งเจือปนต่างๆ เช่น เศษอาหาร คราบเลือด คราบน้ำมัน หรือสารเคมีอันตราย

กระบวนการรีไซเคิล
- คัดแยกและรวบรวมของเสียเศษไม้ธรรมชาติและเศษไม้อัด

- ตัดให้มีขนาดเล็กประมาณ 30 – 50 มม.

- ส่งเข้าเครื่องคัดแยกแม่เหล็ก (Magnetic separator) ทำให้สิ่งปนเปื้อน เช่น ตะปู ลวดเย็บ  สเตนเลส อะลูมิเนียมฟอยล์ และวัสดุอื่นๆ ถูกแยกออกจากเศษไม้

- บดย่อยเศษไม้ให้มีขนาดเล็กลง ก่อนส่งเข้าเครื่อง Defibrator เพื่อแยกเส้นใยเยื่อไม้

- ภายในเนื้อไม้อัด ทำมาจากส่วนผสมระหว่างเศษไม้กับเกล็ดพลาสติก ส่วนผิวหน้าของไม้อัดทำมาจากเส้นใยเยื่อไม้และเส้นใยพลาสติก ดังนั้น การผลิตไม้อัดรีไซเคิลจึงแบ่งเป็นสองส่วน คือ (1) การผสมเศษไม้กับเกล็ดพลาสติก และ (2) การผสมเส้นใยเยื่อไม้กับเส้นใยพลาสติก

- ทำการคัดแยกและรวบรวมของเสียพลาสติกโพลีโพรพิลีน (Polypropylene) ที่นำมาใช้เป็นส่วนผสม กำจัดสิ่งปนเปื้อน เช่น อะลูมิเนียมฟอยด์ และชิ้นส่วนที่เป็นเหล็ก ออกจากพลาสติก จากนั้นตัดพลาสติกเป็นชิ้นเล็กๆ ขนาด 3 – 8 มม. นำไปหลอมและฉีดเป็นเส้นใยและตัดเป็นเกล็ดพลาสติก

- หลังจากผสมไม้และพลาสติกเข้าด้วยกัน ส่วนผสมจะถูกส่งเข้าเครื่องอัดอากาศความดันต่ำ (Low pressure compressor) และให้ความร้อนด้วยไมโครเวฟ (Microwave heater) ขึ้นรูปด้วยเครื่องจักรที่ใช้แม่พิมพ์ (Molding machine) จากนั้นทำให้เย็น จะได้แผ่นไม้อัดรีไซเคิลที่สามารถนำไปให้ได้ขนาดตามต้องการ

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
ไม้อัด

ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)

ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 34 (3) การทำไม้วีเนียร์ หรือไม้อัดทุกชนิด

- ลำดับที่ 37 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการทำเครื่องเรือนหรือเครื่องตบแต่งในอาคารจากไม้ แก้ว ยาง หรืออโลหะอื่น ซึ่งมิใช่เครื่องเรือนหรือเครื่องตบแต่งภายในอาคารจากพลาสติกอัดเข้ารูป และรวมถึงชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2550


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] http://thailandgogreen.blogspot.com/2010_09_01_archive.html

[2] http://www.reic.or.th/RealEstateForPeople/Topic-ThaiFlood01-012.asp

[3] Recycling of Waste Wood and Waste Plastics into Recycled Plywood. 2011. Available from: http://nett21.gec.jp/Ecotowns/data/et_a-04.html