ฐานข้อมูลบัญชีของเสีย
กลุ่มของเสียครัวเรือน
เศษวัสดุจากการตกแต่งสวน

ประเภทของเสีย
ของเสียอินทรีย์

ชนิดของเสีย
เศษวัสดุจากการตกแต่งสวน

ตัวอย่างของเสีย
เศษไม้ เศษใบไม้ เศษหญ้า ฯลฯ

องค์ประกอบหลัก
เศษไม้ เศษใบไม้ เศษหญ้า

คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
N/A

คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- เศษวัสดุจากการตกแต่งสวนที่ไม่ปนเปื้อนด้วยสิ่งเจือปนต่างๆ เช่น เศษอาหาร คราบเลือด คราบน้ำมัน หรือสารเคมีอันตราย

- เศษวัสดุจากการตกแต่งสวนในที่นี้รวมถึง ไม้พาเลท ลังไม้ และไม้กระดาน

กระบวนการรีไซเคิล
- คัดแยกและรวบรวมเศษวัสดุจากการตกแต่งสวน

- เศษวัสดุไม้พาเลท ลังไม้ และไม้กระดาน สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้โดยการถอดชิ้นส่วนไม้ไปซ่อมแซมและนำไปผลิตเป็นลังไม้หรือผลิตภัณฑ์ไม้ใหม่ โดยนำมาผสมกับตัวประสาน แล้วอัดเป็นผลิตภัณฑ์ไม้ใหม่ตามความต้องการ เช่น ไม้พาเลท ประตูไม้อัด หรือวัสดุปูพื้น

- เศษไม้ชิ้นเล็กๆ นำมาเผาเป็นเชื้อเพลิงหรือใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า (Cogeneration)

- เศษไม้หรือเศษใบไม้แห้ง สามารถนำไปทำปุ๋ยหมัก ซึ่งการทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ (Aerobic   compost) จะอาศัยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนช่วยในการย่อยวัตถุอินทรีย์


  • สภาวะที่เหมาะสมในการทำปุ๋ยหมัก คือ (1) มีอากาศ (2) วัตถุอินทรีย์ต้องมีอัตราส่วนของไนโตรเจนต่อคาร์บอน = 1 : 30–70 ส่วน (3) มีน้ำ ~ 40–60% (4) มีออกซิเจนให้จุลินทรีย์ใช้เพียงพอ

  • วัตถุอินทรีย์เกือบทั้งหมดใช้ทำปุ๋ยหมักได้ ส่วนผสมของวัตถุอินทรีย์ที่เหมาะสำหรับทำปุ๋ยหมัก ประกอบด้วยอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมระหว่างวัตถุอินทรีย์ที่มีคาร์บอนมาก (Carbon-rich materrials) หรือวัตถุสีน้ำตาล เช่น ใบไม้แห้ง ฟางข้าว เศษไม้ เป็นต้น กับวัตถุอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนมาก (Nitrogen-rich materials) หรือวัตถุสีเขียว เช่น เศษหญ้า เศษพืชผักจากครัว เป็นต้น อัตราส่วนผสมที่ดีจะทำให้การทำปุ๋ยหมักเสร็จเร็วและไม่มีกลิ่นเหม็น ถ้ามีส่วนของคาร์บอนมากไปจะทำให้ย่อยสลายช้า และถ้ามีไนโตรเจนมากไปจะทำให้เกิดกลิ่นเหม็น

  • วิธีที่มีประสิทธิภาพในการทำปุ๋ยหมักอย่างเร็วและมีโครงสร้างที่ทนทาน คือ การสร้างถังสี่เหลี่ยมแบบ 3 ช่อง (Three - chambered bin) ซึ่งสามารถทำปุ๋ยหมักได้มากและมีการหมุนเวียนอากาศที่ดี โดยแต่ละช่องจะทำการย่อยสลายวัสดุในช่วงเวลาที่ต่างกัน

  • การทำปุ๋ยหมักเริ่มจากการใส่วัตถุดิบลงไปในช่องแรก ผสมให้เข้ากันและปล่อยให้ย่อยสลาย (อุณหภูมิสูงขึ้น) เป็นเวลา 3 – 5 วัน จากนั้นตักไปใส่ในช่องที่สองและปล่อยทิ้งไว้ 4 – 7 วัน (ในส่วนช่องแรกก็เริ่มใส่วัตถุดิบลงไปใหม่) แล้วตักใส่ในช่องที่สามต่อไปซึ่งการหมักปุ๋ยใกล้จะเสร็จสมบรูณ์ การทำวิธีนี้สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง ปริมาตรของปุ๋ยหมักที่เสร็จแล้วจะลดลงเหลือ 30 – 40% ของปริมาตรเริ่มต้น



ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
น้ำมันเบา (เช่น น้ำมันเบนซินพาราฟิน) น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน ยางมะตอย

ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
- วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)

- เชื้อเพลิงทดแทน (Alternative fuel)

ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 34 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับไม้

- ลำดับที่ 36 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากไม้หรือไม้ก๊อก

- ลำดับที่ 37 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการทำเครื่องเรือนหรือเครื่องตบแต่งในอาคารจากไม้ แก้ว ยาง หรืออโลหะอื่น ซึ่งมิใช่เครื่องเรือนหรือเครื่องตบแต่งภายในอาคารจากพลาสติกอัดเข้ารูป และรวมถึงชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

- ลำดับที่ 43 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับปุ๋ย หรือสารป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์

- ลำดับที่ 106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2550


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] Wood and Horticultural Waste Recycling. 2008. Available from: http://www.zerowastesg.com/2008/12/08/wood-and-horticultural-waste-recycling/

[2] การทำปุ๋ยหมัก (Composting). Available from: http://www.vcharkarn.com/varticle/38803