ฐานข้อมูลบัญชีของเสีย
กลุ่มของเสียครัวเรือน
หนังสือและนิตยสาร

ประเภทของเสีย
กลุ่มกระดาษ

ชนิดของเสีย
หนังสือและนิตยสาร

ตัวอย่างของเสีย
ตำราเรียน หนังสือท่องเที่ยว นิตยสาร ฯลฯ

องค์ประกอบหลัก
-  เส้นใย : เยื่อบริสุทธิ์และเยื่อเวียนทำใหม่ (Recycled pulp)

-  สารเติมแต่งต่างๆ (Additives)


คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- ความหนา : 25 µm

- ความหนาแน่น (Density) : 0.61 – 0.72 g.cm-3 

คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- ของเสียหนังสือและนิตยสารที่ไม่ปนเปื้อนด้วยสิ่งเจือปนต่างๆ เช่น เศษอาหาร คราบเลือด คราบน้ำมัน หรือสารเคมีอันตราย

กระบวนการรีไซเคิล
- คัดแยกและรวบรวมของเสียหนังสือและนิตยสาร

- แช่หนังสือและนิตยสารในถังสารเคมี และต้มเพื่อให้ได้เยื่อกระดาษ

- นำไปผ่านตะแกรงร่อนเพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อนที่มีขนาดใหญ่ออก

- ส่งเข้าสู่ถังปั่นเหวี่ยง ทำให้สิ่งเจือปนขนาดเล็กหลุดออกไปด้านข้างของถัง ส่วนเยื่อกระดาษที่มีน้ำหนักเบาจะตกลงสู่กลางถัง

- กำจัดหมึกพิมพ์ออกจากเยื่อกระดาษ ด้วยการเติมสารลดแรงตึงผิว (Soap-like surfactants)

- ในกรณีที่ต้องการเยื่อกระดาษขาว ให้ทำการฟอกเยื่อกระดาษก่อน

- เยื่อกระดาษรีไซเคิลที่ได้พร้อมนำไปผลิตเป็นกระดาษประเภทต่างๆ เช่น กระดาษแข็ง กระดาษชำระ กระดาษถ่ายเอกสาร เป็นต้น


ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
เยื่อเวียนทำใหม่ (Recycled pulp)

ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)

ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 38 โรงงานผลิตเยื่อหรือกระดาษ

- ลำดับที่ 39 โรงงานผลิตภาชนะบรรจุจากกระดาษทุกชนิดหรือแผ่นกระดาษไฟเบอร์

- ลำดับที่ 40 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับเยื่อ กระดาษ หรือกระดาษแข็ง 


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2550


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] http://www.b2bweb.co/products_432340.html

[2] http://www.paperonweb.com

[3] http://greenliving.nationalgeographic.com/magazines-recycled-2157.html

[4] http://www.magazine.org/environment/21345.aspx

[5] Earth911.com: Nike Uses Old Magazines For New Shoes; Jan. 5, 2011.