ฐานข้อมูลบัญชีของเสีย
กลุ่มของเสียครัวเรือน
น้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว

ประเภทของเสีย
น้ำมัน

ชนิดของเสีย
น้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว

ตัวอย่างของเสีย
น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์หรือเครื่องจักรต่างๆ

องค์ประกอบหลัก
- แก๊สโซลีน : 35%

- น้ำมันดิน : 28%

- ดีเซล : 20%

- น้ำมันก๊าด : 10%

- ก๊าซ : 5%

- น้ำมันหล่อลื่น : 2%

คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- ความคงตัว : มีความคงตัวมาก

- ความระเหย : ไม่ระเหย

คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์และเครื่องจักรทั่วไป

กระบวนการรีไซเคิล
- คัดแยกและรวบรวมของเสียน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วไว้ในภาชนะปิด

- ตั้งทิ้งไว้เพื่อให้น้ำและสิ่งปนเปื้อนต่างๆ แยกตัวออกจากน้ำมัน

- กำจัดน้ำออกจากน้ำมัน โดยนำของเสียน้ำมันไปต้มที่อุณหภูมิ 120oC ในระบบ

- น้ำมันที่ระเหยน้ำออกแล้วถูกส่งเข้าหอกลั่นสูญญากาศ (Vacuum distrillation plant) เพื่อแยกส่วน (Fractionation)


  • ส่วนแรกจะได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันส่วนที่เบา (เช่น น้ำมันเบนซิน และพาราฟิน) และน้ำมันดีเซล ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเตาเผา (Burner) หรือหม้อต้ม (Boilers)

  • ส่วนที่สองจะได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น

  • ส่วนที่สามจะเป็นกากที่เหลืออยู่ (Residue) ซึ่งมีส่วนผสมของคาร์บอน ตะกั่ว โลหะหนักต่างๆ และสารผลิตภัณฑ์จากกระบวนการออกซิเดชัน (Oxidation products)  จะถูกนำไปใช้เป็นยางมะตอย (Bitumen) สำหรับทำถนนต่อไป


- น้ำมันหล่อลื่นที่ได้จากการกลั่น ถูกส่งเข้าหอสกัด (Extraction tower) สกัดด้วยวิธี Liquid-liquid extraction (LLE) หรือวิธีการสกัดของเหลวด้วยของเหลว โดยใช้สาร n-Methyl pyrolidone (NMP) เป็นตัวทำละลาย ในขั้นตอนนี้ สี กลิ่น สารระเหยและสิ่งสกปรกอื่นๆ  จะถูกกำจัดออกจากน้ำมันหล่อลื่น

- กรองนำมันหล่อลื่นที่ได้ เพื่อแยกสิ่งปนเปื้อนที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 ไมครอน ออก

- ได้น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน (Base oil) จำพวกน้ำมันแร่ (Mineral oil) น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานที่ได้นี้เป็นน้ำมันพื้นฐานที่ใช้เป็นส่วนผสมส่วนใหญ่ของผลิตภัณฑ์หล่อลื่น

- จากนั้นเติมสารเพิ่มคุณภาพ (Additives) ลงในน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติต่างๆ และเพิ่มสมรรถนะในการหล่อลื่นให้สูงขึ้น สารเพิ่มคุณภาพที่เติม ได้แก่

  • Detergent เป็นสารเคมีที่มีหน้าที่ชะล้างทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่จับอยู่บนผิวของชิ้นส่วนเครื่องยนต์/เครื่องจักรให้หลุดไปรวมอยู่ในน้ำมันหล่อลื่น

  • Dispersant เป็นสารเคมีที่มีหน้าที่กระจายเขม่าที่เกิดจากการเผาไหม้ ของเชื้อเพลิงส่วนที่ตกไปอยู่ในอ่างหล่อลื่นไม่ให้จับกันเป็นก้อน ป้องกันไม่ให้ความหนืดเพิ่มขึ้นและไส้กรองอุดตัน

  • Anti – wear เป็นสารเคมีที่ช่วยป้องกันการสึกหรอที่เกิดจากการขัดสีของชิ้นส่วนเครื่องจักรที่มีการเคลื่อนไหวโดยทำหน้าที่เป็น Solid film เคลือบผิวโลหะ

  • Extreme pressure เป็นสารเคมีที่ช่วยป้องกันความเสียหายอย่างรุนแรง (Abnormal wear) ของโลหะเนื่องจากได้รับการขัดสีภายใต้แรงกดที่สูงมาก หน้าที่เป็น Solid film คล้าย Anti – wear ใช้ในน้ำมันหล่อลื่นบางชนิดเท่านั้น

  • Anti – foam : สารช่วยยับยั้งการเกิดฟอง หรือช่วยให้ฟองแตกตัวเร็ว ไม่สะสมในระบบหล่อลื่น

  • Anti – oxidant : สารป้องกันไม่ให้ออกซิเจนทำปฏิกิริยากับเนื้อน้ำมัน ยับยั้งการเสื่อมคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น

  • Rust & corrosion inhibitor : สารช่วยป้องกันน้ำไม่ให้สัมผัสกับผิวโลหะ ป้องกันการเกิดสนิม และการกัดกร่อนในเหล็กและทองแดง

  • Pour point depressant : สารช่วยให้น้ำมันหล่อลื่นไม่แข็งตัวที่อุณหภูมิต่ำมากๆ หรือ ติดลบ (ควบคุม Wax crystal formation )

  • Friction modifier : สารที่เกาะติดผิวโลหะเพื่อลดค่าความเสียดทาน หรือทำให้ผิวโลหะลื่นขึ้น

  • Emulsifier : สารช่วยให้น้ำมันกับน้ำละลายตัวเข้าด้วยกัน และไม่แยกชั้นออกจากกัน

  • Demulsifier : สารช่วยให้น้ำและน้ำมันหล่อลื่นที่ผสมกันอยู่แยกชั้นออกจากกันได้โดยสิ้นเชิง

  • Oiliness agent : สารช่วยให้น้ำมันหล่อลื่นฉาบไล้ไปบนผิวโลหะได้ดีขึ้น

  • Tackiness agent : สารช่วยให้น้ำมันหล่อลื่นบางชนิดยึดติดกับโลหะได้เหนียวแน่นกว่าปกติ

  • Viscosity index improver : สารช่วยลดอัตราการเปลี่ยนแปลงความหนืดของน้ำมันหล่อลื่นเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป



ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
น้ำมันเบา (เช่น น้ำมันเบนซินพาราฟิน) น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน ยางมะตอย

ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
- วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)

- เชื้อเพลิงทดแทน (Alternative fuel)

ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2550


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] http://www.thaiwasteexchange.net/list_bracket.php

[2] The re-refining of used lubricanting oils. Available from: http://nzic.org.nz/ChemProcesses/energy/7B.pdf

[3] The Recycling Process After Collection.

Available from: http://pages.uoregon.edu/recycle/after_collection.html#motoroil

[4]  ส่วนผสมของน้ำมันหล่อลื่น. 2551.

Available from: http://www.navy.mi.th/dockyard/doced/Homepage/oil_loop/oil_composition.pdf