ประเภทของเสีย
น้ำมัน
ชนิดของเสีย
น้ำมันจากการประกอบอาหาร
ตัวอย่างของเสีย
น้ำมันทอดอาหาร
องค์ประกอบหลัก
- น้ำมันพืช : กรดไขมันไม่อิ่มตัว
(ยกเว้นในน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันเมล็ดปาล์ม)
- น้ำมันสัตว์ : กรดไขมันอิ่มตัว
คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- ความถ่วงจำเพาะที่ 15.5°C
- น้ำมันถั่วเหลือง : 0.924 – 0.9279
- น้ำมันปาล์ม : 0.9210 – 0.9240
- น้ำมันมะพร้าว : 0.9259
- ความหนาแน่น (Density)
- น้ำมันมะพร้าว : 0.925 g.cm-3
- น้ำมันปาล์ม : 890.1 kg.m-3
- ความหนืด ที่ 20°C
- น้ำมันถั่วเหลือง : 80 MPa
- น้ำมันปาล์ม : 130 MPa
- น้ำมันมะพร้าว : 80 MPa
- ความจุความร้อน ที่ 20°C
- น้ำมันปาล์ม : 1.848 KJ.kg-1.C-1
- ความนำไฟฟ้า ที่ 20°C
- น้ำมันปาล์ม : 0.1726 W.m-1.C-1
คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
น้ำมันจากการประกอบอาหารที่ผ่านการกรองเศษอาหารออกแล้ว
กระบวนการรีไซเคิล
กระบวนการที่ 1 : รีไซเคิลเป็นกลีเซอรีนและเมทิลเอสเทอร์
- คัดแยกและรวบรวมของเสียน้ำมันจากการประกอบอาหาร
- กรองเศษอาหารออก
- ตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอน เลือกเก็บเฉพาะน้ำมันส่วนบนไปรีไซเคิล
- ต้มน้ำมันที่อุณหภูมิประมาณ 104
oC และกรองให้ผ่านตะแกรงขนาด 15 ไมครอน
- เติมแอลกอฮอล์และสารกัดกร่อน (Caustic) ลงในน้ำมัน ต้มที่อุณภูมิ ~ 62
oC เป็นเวลา 3 ชม. เพื่อแยกกลีเซอรีน (Glycerine) และเมธิลเอสเทอร์ (Methyl ester) ออกจากโมเลกุลน้ำมัน
- เมทิลเอสเทอร์ นำไปใช้เป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงดีเซล หรือเรียกว่า ไบโอดีเซล (Biodiesel)
- กลีเซอรีนสีดำเข้มที่ได้ ให้นำไปกลั่นที่อุณหภูมิมากกว่า 126
oC เป็นเวลา 48 ชม. เพื่อกำจัดโมเลกุลแอลกอฮอล์ที่อาจจะหลงเหลืออยู่
0 กรองกลีเซอรีนอีกครั้ง เพื่อให้ได้กลีเซอรีนบริสุทธิ์ พร้อมนำไปใช้ในการผลิตสบู่ต่อไป
กระบวนการที่ 2 : รีไซเคิลเป็นกลีเซอรีนและเมทิลเอสเทอร์
- คัดแยกและรวบรวมของเสียน้ำมันจากการประกอบอาหาร
- การเตรียมน้ำมันก่อนทำปฏิกิริยา
- กรองเศษอาหารออก
- ขจัดน้ำออก โดยการต้มเพื่อระเหยน้ำที่อุณหภูมิสูงกว่า 100oC
- การเตรียมสารละลายแอลกอฮอล์
- กระบวนการรีไซเคิลน้ำมันประกอบอาหารเป็นกลีเซอรีนและเมทิลเอสเทอร์ จะเกิดขึ้นภายใต้ปฏิกิริยาทรานส์เอสเตอริฟิเคชั่น (Transesterification process) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาการเปลี่ยนหมู่อัลคิล (Alkyl group) ในโมเลกุลไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) โดยการทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ให้กลายเป็นโมโนอัลคิลเอสเตอร์ (Mono alkyl ester) ได้แก่ สารจำพวกเมทิล เอสเทอร์ (Methyl ester) และเอสทิลเอสเทอร์ (Ethyl ester)
- ภายใต้ปฏิกิริยานี้ แอลกอฮอล์ที่นำมาทำปฏิกิริยา คือ เมทานอล (CH3OH) โดยเมทานอลต้องไม่มีน้ำเจือปนเกินกว่า 1% และโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) หรือโซดาไฟ ถูกนำมาใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
- การเตรียมสารละลายทำได้โดยนำโซเดียมไฮดรอกไซด์ 2.5–5 ส่วน ละลายในเมทานอล 100 ส่วนโดยน้ำหนัก ปริมาณโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ใช้เป็นไปตามปริมาณกรดไขมันอิสระที่อยู่ในวัตถุดิบ หากกรดไขมันอิสระมีปริมาณสูง จะต้องใช้โซดาไฟในปริมาณสูงเช่นกัน
- การทำปฏิกิริยา
- น้ำมันที่ถูกขจัดน้ำแล้วถูกทำให้มีอุณหภูมิประมาณ 80oC จากนั้นจึงเติมสารละลายแอลกอฮอล์ลงไปอย่างช้าๆ (เติมให้หมดภายใน 10 นาที) สัดส่วนน้ำมันต่อสารละลายแอลกอฮอล์โดยน้ำหนักเท่ากับ 5 ต่อ 1 ทำการกวนเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาอย่างทั่วถึงประมาณ 15 นาที ด้วยอัตราการกวนปานกลาง (500 รอบ/นาที) อุณหภูมิในช่วงนี้ลดลงเหลือประมาณ 65oC การเกิดปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้เมทิลเอสเทอร์และกลีเซอรีน แต่ปฏิกิริยานี้ผันกลับได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหยุดกวนเพื่อแยกผลผลิตตัวใดตัวหนึ่งออก เมื่อหยุดกวน กลีเซอรีนซึ่งมีความหนาแน่นสูงกว่า (~ 1.26 g.ml-1) จะแยกชั้นออกจากชั้นเมทิลเอสเทอร์ โดยกลีเซอรีนจะแยกตัวตกลงมาที่ก้นถัง ดังนั้นในชั้นเมทิลเอสเทอร์จะเหลือกลีเซอรีนอยู่น้อย ปฏิกิริยาการเกิดเมทิลเอสเทอร์จะสามารถดำเนินต่อไปอย่างช้าๆ เมื่อทิ้งให้เกิดปฏิกิริยาเป็นเวลา 3 – 4 ชม. น้ำมันก็จะทำปฏิกิริยาไปมากกว่า 95%
- การแยกกลีเซอรีน
- กลีเซอรีนจะถูกถ่ายออกใส่ภาชนะ โดยการถ่ายออกทางด้านล่างของถังปฏิกรณ์ ในขณะที่ยังร้อนอยู่เพราะหากทิ้งไว้ให้เย็น ชั้นกลีเซอรีนจะกลายเป็นของแข็ง
- การล้างสิ่งปนเปื้อนออก
- เมทิลเอสเทอร์ที่ได้ยังปนเปื้อนด้วยสารอื่นๆ เช่น สบู่ที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์และกรดไขมันอิสระหรือน้ำมัน กลีเซอรีนที่ละลายอยู่ในชั้นเมทิล เอสเทอร์ โซเดียมไฮดรอกไซด์ เมทานอลที่เหลือจากการทำปฏิกิริยาและน้ำมันที่ทำปฏิกิริยาไม่หมด ดังนั้นจึงต้องทำการขจัดออกด้วยการล้างด้วยน้ำอุ่นหลายๆครั้ง ปริมาณน้ำที่ใช้แต่ละครั้งประมาณ 1 ต่อ 4 ของปริมาณเมทิลเอสเทอร์ เมื่อเติมน้ำเพียงพอแล้วรอให้น้ำแยกชั้นจากเมทิลเอสเทอร์เป็นเวลาพอสมควร (ประมาณ 5 – 10 นาที) ก็ถ่ายน้ำออกด้านล่าง เติมน้ำอุ่นเพื่อล้างใหม่ การล้างจะกระทำ 4 – 5 ครั้ง และเพิ่มการกวนในการล้างครั้งหลังๆ
- การขจัดน้ำออกขั้นสุดท้าย
- เมื่อล้างสิ่งปนเปื้อนออกหมดแล้ว ขั้นตอนสุดท้าย คือ การขจัดน้ำที่หลงเหลืออยู่ในชั้นเมทิลเอสเทอร์ออก ซึ่งกระทำโดยการให้ความร้อนจนถึงอุณหภูมิ 120oC เป็นเวลาอย่างน้อย 20 นาที หรือการกรองด้วย Salt filter และเมื่อทิ้งไว้ให้เย็นก็สามารถนำไปเก็บเพื่อใช้งานต่อไป
กระบวนการที่ 3 : รีไซเคิลเป็นกลีเซอรีนและเมทิลเอสเทอร์
- คัดแยกและรวบรวมของเสียน้ำมันจากการประกอบอาหาร
- กรองเศษอาหารออก
- ชั่งสารโซดาไฟ หรือโปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ 6 กรัม ต่อปริมาตรน้ำมันพืช 1 ลิตร
- ตวงเมทานอลจำนวน 25% ของน้ำมันพืช แล้วผสมโซดาไฟที่เตรียมไว้ คนให้ละลายเข้ากัน (ให้เทโซดาไฟลงในเมทานอล)
- อุ่นน้ำมันพืชที่เตรียมไว้ให้ได้อุณหภูมิ 50 – 55
oC ใช้เวลานานประมาณ 20 นาที ถึง 1 ชม. เทสารละลายโซดาไฟที่ผสมกับเมทานอล หรือเรียกว่าสารละลายเมท็อกไซด์ (Methoxide) ลงในน้ำมันพืชที่ร้อน 50 – 55
oC คนให้เกิดปฏิกิริยา ซึ่งจะเปลี่ยนจากสีขุ่นข้นเป็นสีเข้มขึ้น กวนนานประมาณ 20 นาที ถึง 1 ชม.
- แยกส่วนผสมลงจากเตา ตั้งทิ้งไว้ 1 คืน ให้เกิดการแยกชั้นระหว่างเมทิลเอสเทอร์กับกลีเซอรีน
- เมื่อทิ้งให้แยกชั้นแล้ว แยกน้ำมันไบโอดีเซล (เมทิลเอสเทอร์) ส่วนบนออกจากกลีเซอรีน แล้วนำไบโอดีเซลมาล้างด้วยน้ำเปล่าครั้งละ 10% ของปริมาณสารทั้งหมด โดยล้าง 2 ครั้ง แต่ละครั้งต้องรอแยกเอาเฉพาะชั้นน้ำมันไบโอดีเซลมาล้าง และระหว่างการล้างต้องมีการกวนอยู่เสมอ
- ก่อนนำมาใช้ควรมีการตรวจสอบคุณภาพของน้ำมัน ซึ่งทำได้ดังนี้ ตรวจสอบความถ่วงจำเพาะโดยใช้ไฮโดรมิเตอร์ (Hydrometer) ที่ใช้วัดความถ่วงจำเพาะของของเหลวที่เบากว่าน้ำ ซึ่งควรวัดได้ในช่วง 0.86 – 0.89 หรือสามารถทดสอบโดยใส่น้ำเปล่าลงไปผสมกับน้ำมันแล้วเขย่า หากเป็นไบโอดีเซลที่ดีจะแยกตัวกับน้ำเร็วและค่อนข้างใสเหมือนเดิม หากไม่ได้คุณภาพตามนี้ ให้ตั้งทิ้งไว้อีก 2 – 3 วัน แล้วจึงนำมาใช้งาน หากได้คุณภาพแล้วให้นำไปเติมแทนหรือผสมน้ำมันดีเซลในรถยนต์ เครื่องยนต์การเกษตรหรือเครื่องยนต์เรือได้โดยไม่ต้องปรับแต่งเครื่องยนต์
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
กลีเซอรีนบริสุทธิ์ ไบโอดีเซล
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
- วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)
- เชื้อเพลิงทดแทน (Alternative fuel)
ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 47(2) โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการทำกลีเซอรีนเคิบ หรือกลีเซอรีนบริสุทธิ์ จากน้ำมันพืช หรือสัตว์ หรือไขมันสัตว์
- ลำดับที่ 106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2550
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
[1] http://www.biodieselmagazine.com/articles/8211/community-scale-producer-establishes-oil-recycling-initiative
[2] http://nutrition.anamai.moph.go.th/temp/main/view.php?group=3&id=79
[3] http://hypertextbook.com/facts/2000/IngaDorfman.shtml
[4] http://www.chempro.in/palmoilproperties.htm
[5] http://pumplocker.com/images/lit/WEI1/FLUX-HIGH-VISCOSITY-B0000-VISC-CHART-1.PDF
[6] http://www.washtyme.com/category_s/48.htm
[7] http://www.biodiesel.eng.psu.ac.th/process.php
[8] http://nstda.or.th/rural/03tech-urban03.html