ประเภทของเสีย
ยานพาหนะ
ชนิดของเสีย
ซากรถยนต์
ตัวอย่างของเสีย
ซากรถยนต์ยี่ห้อต่างๆ
องค์ประกอบหลัก
- โลหะที่เป็นเหล็ก (Ferrous metals) : 69%
- โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก (Non–ferrous metals) : 8%
- พลาสติก : 9%
- แก้ว : 3%
- ยางรถยนต์ : 3%
- ยาง : 2%
- ของไหล : 1%
- พรม : 1%
- แบตเตอรี่ : 1%
- ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ : 1%
- อื่นๆ : 1%
คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
N/A
คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- ซากรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถกระบะ (ไม่รวมรถบรรทุก)
กระบวนการรีไซเคิล
- คัดแยกและรวบรวมซากรถยนต์
- กำจัดของเหลวในเครื่องยนต์ออก เช่น น้ำมันหล่อลื่น หรือของเหลวที่บรรจุอยู่ในตัวกันสะเทือน (Vibration damper)
- แยกชิ้นส่วนที่มีค่าออก เช่น แบตเตอรี่ ตัวเร่งปฏิกิริยา และยางรถ โดยยางรถยนต์สามารถใช้เป็นบังโคลนในท่าเรือหรือใช้ในสนามเด็กเล่น หรือจะนำยางไปบดตัดเป็นเม็ดเล็กๆ ใช้ในการปูพื้นถนนหรือการสร้างถนน นอกจากนี้ยางรถยนต์ยังสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงใน รงปูนซีเมนต์หรือโรงไฟฟ้าได้ เนื่องจากมีค่าความร้อนสูง
- ซากรถยนต์ที่เหลือ นำมาตัดและแยกเป็นชิ้นส่วนเบาและชิ้นส่วนหนัก
- ชิ้นส่วนที่เบา เช่น กันชนไฟเบอร์ กระจกเคลือบเงา และชิ้นส่วนที่เป็นพลาสติก สามารถนำมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ นำเข้าสู่เตาเผาเพื่อให้พลังงานความร้อนในโรงปูนซีเมนต์ หรือโรงไฟฟ้า
- ชิ้นส่วนที่หนัก เช่น เหล็ก และโลหะต่างๆ ให้แยกเหล็กออกด้วยเครื่อง Magnetic separator และแยกโลหะอื่นๆที่ไม่ใช่เหล็กออกด้วยเครื่องแยกโลหะ (Eddy current separation; ECS) เหล็กที่แยกได้สามารถนำไปหลอมเป็นเหล็กบริสุทธิ์ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้
- โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก สามารถแยกออกจากอโลหะได้ด้วยความหนาแน่นเปียก (Wet density separation) หรือวีธีลอยแร่ (Froth-flotation process)
- แยกโลหะหนักออกด้วยเครื่องแยกโลหะ (ECS) ส่วนโลหะเบาแยกออกด้วยเลเซอร์
- โลหะหนักที่ได้ ประกอบด้วย แคลเซียม สังกะสี ตะกั่ว และอื่นๆ ส่วนโลหะเบาที่แยกได้ คือ อะลูมิเนียม โลหะเหล่านี้สามารถนำไปหลอมเป็นโลหะบริสุทธ์เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
เหล็ก อะลูมิเนียม สังกะสี ตะกั่ว แคลเซียม ยางรถ แบตเตอรี่ ตัวเร่งปฏิกิริยา
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
- วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)
- เชื้อเพลิงทดแทน (Alternative fuel)
ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 44 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตยางเรซินสังเคราะห์ ยางอีลาสโตเมอร์ พลาสติก หรือเส้นใยสังเคราะห์ซึ่งมิใช่ใยแก้ว
- ลำดับที่ 52 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับยาง
- ลำดับที่ 53 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์พลาสติก
- ลำดับที่ 59 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการถลุง หลอม หล่อ รีด ดึง หรือผลิตเหล็ก หรือเหล็กกล้าในขั้นต้น
- ลำดับที่ 60 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับถลุง ผสม ทำให้บริสุทธิ์ หลอม หล่อ รีด ดึง หรือผลิตโลหะในขั้นต้น ซึ่งมิใช่เหล็กหรือเหล็กกล้า
- ลำดับที่ 106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2550
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
[1] End of Life Vehicles. Available from: http://ec.europa.eu/environment/waste/elv_index.htm
[2] Recyclable Materials. Available from: http://www.greenvehicledisposal.com/environment/recyclable-materials/
[3] Ostertag, K., Hüsing, B. 2008. Identification of starting points for exposure assessment in the
post-use phase of nanomaterial-containing products. Journal of Cleaner Production 16: 938-948
[4] Mladenov, Z. 2003. Mazda recycling technology for end-of-life vehicle bumpers. Available from: http://www.automobilesreview.com/auto-news/mazda-recycling-technology-for-end-of-life-vehicle-bumpers/11367/