ฐานข้อมูลบัญชีของเสีย
กลุ่มของเสียครัวเรือน
ยางยานพาหนะ

ประเภทของเสีย
ยานพาหนะ

ชนิดของเสีย
ยางยานพาหนะ

ตัวอย่างของเสีย
ยางรถยนต์ รถบรรทุก รถจักรยานยนต์

องค์ประกอบหลัก
- ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ : ~ 41%

- สารตัวเติมต่างๆ (Filters) ได้แก่ ผงคาร์บอนแบล็ค ซิลิกา ชอล์ก : ~ 30%

- วัสดุเสริมแรง (Reinforcing materials) ได้แก่ เหล็ก โพลีเอสเตอร์ เรยอน ไนลอน : ~ 15%

- พลาสติกไซเซอร์ (Plasticizers) ได้แก่ น้ำมัน เรซิน : ~ 6%

- สารเคมีสำหรับการบ่มยาง (Chemicals for vulcanization) ได้แก่ ซัลเฟอร์ ซิงค์ออกไซด์ : ~ 6%

- สารยืดอายุยาง (Anti aging agents) และสารเคมีอื่นๆ : ~ 2%

คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- ความหนาแน่น (Density) : ~ 1 g.cm-3

- ปริมาณอนุภาคที่มีขนาด < 0.075 mm. (Content of very fine particles) : < 1%

- ความสามารถในการดูดซึมน้ำ (Water absorption) : 0% (ไม่ดูดซึมน้ำ)

โครงสร้างอนุภาค (Particles structure) : โครงสร้างเส้นใยที่มีรูขนาดเล็ก (Textile fibres and micro-pores)

คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- ของเสียยางยานพาหนะที่ไม่ปนเปื้อนด้วยสิ่งเจือปนต่างๆ เช่น เศษอาหาร คราบเลือด คราบน้ำมัน หรือสารเคมีอันตราย

กระบวนการรีไซเคิล
กระบวนการที่ 1 รีไซเคิลเป็นแผ่นยาง

- คัดแยกและรวบรวมของเสียยางยานพาหนะ

- แยกชิ้นส่วนที่ไม่ใช่ยางออกไป เช่น ล้อรถ

- บดย่อยให้มีขนาดเล็กลงด้วยเครื่องบด (Granulator)

- นึ่งยางที่อุณหภูมิ 270oC และเติมสารเคมีเพิ่มความยืดหยุ่นให้ยาง

- นวดยางและรีดยางให้เป็นแผ่น พร้อมนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น สายพานลำเลียง ยางปูพื้น ยางรถยนต์ ท่อน้ำ เป็นต้น



กระบวนการที่ 2 รีไซเคิลเป็นเม็ดยาง

- คัดแยกและรวบรวมของเสียยางยานพาหนะ

- แยกชิ้นส่วนที่ไม่ใช่ยางออกไป เช่น ล้อรถ

- ตัดยางเป็นให้เป็นชิ้นเล็ก

- ล้างทำความสะอาดเศษยางในถังน้ำหมุนเพื่อแยกสิ่งปนเปื้อนออก จากนั้นนำมาเป่าให้แห้ง

- นำเศษยางไปบดให้ละเอียด จะได้วัตถุดิบตั้งต้นสำหรับนำไปผลิตยางอีกครั้ง 



กระบวนการที่ 3  รีไซเคิลเป็นยางเหลว

- คัดแยกและรวบรวมของเสียยางยานพาหนะ

- ล้างทำความสะอาด

- ตัดเศษยางเป็นชิ้นเล็กๆ ส่งเข้าเครื่องบด (Granulator) เพื่อบดให้ละเอียด (Rubber crumb)

- แยกชิ้นส่วนของเหล็กที่มาจากล้อรถออกจากเศษยางบดละเอียดด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnet)

- เศษยางบดละเอียดนำไปผ่านตะแกรงร่อนขนาดต่างๆ และเป่าลมเพื่อแยกสิ่งปนเปื้อนอื่นๆที่มีน้ำหนักเบาออกไป จากนั้นนำไปหลอมในหม้อต้มขนาดใหญ่ ทำให้ได้ยางเหลว

- ยางเหลวถูกเก็บรวบรวมไว้ในถัง ทิ้งไว้ให้เย็น จะได้ยางเหลวที่พร้อมสำหรับนำไปผลิตแผ่นยางปูพื้น (Rubber floor) สำหรับใช้ในบ้านเรือน 


ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
แผ่นยาง เม็ดยาง ยางเหลว

ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)

ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 52 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับยาง

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2550


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] โรงงานคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล วงษ์พานิช จ.พิษณุโลก

[2] Continental AG. 2008. Tyre Basics-Passenger Car Tyres. Available from: http://www.conti-online.com/generator/www/au/en/continental/tyres/general/downloads/download/reifengrundlagen_en.pdf

[3] Mavridou, S., Oikonomou, N. 2011. “Integration of end-of-life tires in the life cycle of road

Construction. Report on characteristics of tire rubber.

[4] http://www.thai-recycle.in.th/redirect.php?tid=1274&goto=lastpost

[5] Callahan, J.J. et al. 2003. Process and apparatus for reclaiming the economic components of polluted scrap rubber tires.United States. 6527208. Available from: http://www.freepatentsonline.com/6527208.html

[6] Scott, W. 2010. Recycled Tires for Residential Floor Use.

     Available from: http://www.brighthub.com/environment/green-living/articles/70608.aspx#