ฐานข้อมูลบัญชีของเสีย
กลุ่มของเสียครัวเรือน
ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายผสมโพลีเอสเตอร์

ประเภทของเสีย
กลุ่มสิ่งทอ

ชนิดของเสีย
ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายผสมโพลีเอสเตอร์

ตัวอย่างของเสีย
เสื้อยืด เสื้อสูท กางเกงเล

กางเกงเลคกิ้ง ฯลฯ

องค์ประกอบหลัก
- เส้นใยฝ้าย : 65 – 80 %

- เส้นใยโพลีเอสเตอร์ : 20 – 35 %

คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- ลักษณะทั่วไป


  • ผ้าฝ้าย 80% ผสมผ้าโพลีเอสเตอร์ 20% : เนื้อผ้าแน่น และนุ่ม

  • ผ้าฝ้าย 65% ผสมผ้าโพลีเอสเตอร์ 35% : ใยฝ้ายฟูบาง เนื้อผ้าค่อนข้างนุ่ม


- ความยืดหยุ่น

  • ผ้าฝ้าย 80% ผสมผ้าโพลีเอสเตอร์ 20% : สูงมาก

  • ผ้าฝ้าย 65% ผสมผ้าโพลีเอสเตอร์ 35% : ปานกลาง


- การระบายอากาศ

  • ผ้าฝ้าย 80% ผสมผ้าโพลีเอสเตอร์ 20% : สูงมาก

  • ผ้าฝ้าย 65% ผสมผ้าโพลีเอสเตอร์ 35% : ปานกลาง 



คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- ของเสียผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายผสมโพลีเอสเตอร์ที่ไม่ปนเปื้อนด้วยสิ่งเจือปนต่างๆ เช่น เศษอาหาร คราบเลือด คราบน้ำมัน หรือสารเคมีอันตราย

กระบวนการรีไซเคิล
- คัดแยกและรวบรวมของเสียผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายผสมโพลีเอสเตอร์

- ทำความสะอาด รวมทั้งแยกซิปและกระดุมออก

- ตัดผ้าเป็นชิ้นเล็กๆ และนำเข้าสู่กระบวนการ Alcoholysis ภายใต้อุณหภูมิที่เหมาะสม โดยนำเศษผ้า ไปแช่ในภาชนะที่มีสารละลายเมทานอล (CH3OH) ในปริมาณ 3 – 4 เท่าของน้ำหนักเศษผ้า จากนั้นเติมตัวเร่งปฏิกิริยา ได้แก่ โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) ลิเทียมคาร์บอเนต (Li2CO3) และโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ในปริมาณ 0.25% ของน้ำหนักเศษผ้า และทิ้งไว้ให้เกิดปฎิกิริยา Alcoholysis ภายใต้ความดัน 150 – 210 psi อุณหภูมิ 180 – 210oC เป็นเวลา         4 – 6 ชม. เพื่อทำลายสายโซ่โพลีเมอร์ (Depolymerization) จากนั้นลดอุณหภูมิลงมาประมาณ      150 – 170 oC ทำให้ได้ Slurry และนำไปกรองเพื่อแยกเส้นใยฝ้ายออกจาก Slurry โพลีเอสเตอร์

- เส้นใยฝ้าย นำไปทำให้แห้งด้วยการเป่าลมร้อนหรือผึ่งให้แห้ง (Air dried) จากนั้นนำไปล้างด้วยเมทานอล เพื่อกำจัดโอลิโกเมอร์ที่ตกค้างอยู่ (Residual oligomers) รวมทั้งกำจัดสิ่งปนเปื้อนอื่นๆออกจากเส้นใยฝ้าย จากนั้นนำเข้าสู่กระบวนการผลิตเยื่อ โดยการเติมสารกัดกร่อนเพื่อย่อยเส้นใยฝ้าย (Caustic digestion) ที่อุณหภูมิ 130oC เวลา 1 ชม. และทำการฟอกเยื่อ (Bleached) ด้วยสารไฮเปอร์คลอไรท์ (Hypochlorite) ที่อุณหภูมิ 60oC เป็นเวลา 1.30 ชม.   ทำการสกัดด้วยสารกัดกร่อนแบบเย็น (Cold caustic extraction) ที่อุณหภูมิ 40oC เป็นเวลา 30 นาที นำเยื่อฝ้ายที่ได้ไปล้างทำความสะอาด และผ่านกระบวนการ Acetylation เพื่อผลิต     สารไตรแอซีเทตเซลลูโลส (Triacetate cellulose)

- โพลีเอสเตอร์ โอลิโกเมอร์ (Polyester oligomers) นำเข้าสู่กระบวนการ Alcoholysis ขั้นที่ 2  (Secondary alcoholysis) โดยการเติมสารเมทานอล และเติมโซเดียมคาร์บอเนตเป็น ตัวเร่งปฏิกิริยา ควบคุมความดันที่ 0 – 50 psi อุณหภูมิ 65 – 100oC และทิ้งไว้ให้เกิดปฏิกิริยาจนกว่าจะได้เป็นสารไดแอลคิลเอสเตอร์ของกรดเทอเรพทาลิก (Dialkyl ester of terephthalic acid)

สารไดแอลคิลเอสเตอร์ และไตรแอซีเทตเซลลูโลส นำไปผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ และพร้อมนำไปผลิตเป็นเส้นใยใหม่

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
สารไดแอลคิลเอสเตอร์ (Dialkyl ester) สารไตรแอซีเทตเซลลูโลส (Triacetate cellulose)

ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)

ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 27 (7) โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตเส้นใย หรือปุยใยจากวัสดุที่ทำจาก เส้นใยหรือปุยใยที่ไม่ใช้แล้ว

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2550


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] http://shopping.sanook.com/product/6193164

[2] http://chairung-textile.blogspot.com/2011_11_01_archive.html

[3] http://www.klipple.com/fabric-categories.html

[4] Etheridge, O.O. et al., 1993. Process for recycling polyester/cotton blends. United State Hoechst Celanese Corporation (Somerville, NJ) 5236959. Available from: http://www.freepatentsonline.com/5236959.html