ฐานข้อมูลบัญชีของเสีย
กลุ่มของเสียครัวเรือน
ผลิตภัณฑพรมไนลอน

ประเภทของเสีย
กลุ่มสิ่งทอ

ชนิดของเสีย
ผลิตภัณฑพรมไนลอน

ตัวอย่างของเสีย
พรมปูพื้น พรมเช็ดเท้า ฯลฯ

องค์ประกอบหลัก
- เส้นใยไนลอน หรือโพลีเอมายด์ (Polyamide) :


  • ไนลอน 6,6 : ~ 35 – 45%

  • ไนลอน 6 : ~ 25 – 30%


- โพลีโพรพีลีน (Polypropylene) : ~ 15 – 25%

- โพลีเอสเตอร์ (Polyester) : ~ 10%

- ขนสัตว์ (Wool) และอะคริลิก (Acrylic) : ~ 1%

คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- ความยืดหยุ่น : มีความเหนียว จึงสามารถยืดหยุ่นได้ดีและยืดได้มาก

- ความคงรูป : คงรูปได้ดีเยี่ยมและยาวนาน สามารถคืนตัวได้ดี จึงไม่ยับง่าย

- ความทนทาน
  • ทนต่อสารเคมี

  • ทนความร้อน

  • ทนต่อการขีดข่วนหรือขัดสี


  • คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
    - ของเสียผลิตภัณฑ์พรมไนลอนที่ไม่ปนเปื้อนด้วยสิ่งเจือปนต่างๆ เช่น เศษอาหาร คราบเลือด คราบน้ำมัน หรือสารเคมีอันตราย

    กระบวนการรีไซเคิล
    กระบวนการที่ 1 การรีไซเคิลทางกายภาพ (Physical recycling)

    - คัดแยกและรวบรวมของเสียผลิตภัณฑ์พรมไนลอน

    - แยกชนิดของพรมไนลอนด้วยเครื่องอัตโนมัติ (Automatic IR identification) โดยแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ ชนิด PA 6 ชนิด PA 6,6 และชนิดอื่นๆ 

    - ไนลอน PA 6 นำไปตัดเป็นชิ้นเล็กๆ และบดย่อย ส่งเข้าเครื่องปั่นเหวี่ยงเพื่อแยกเยื่อ และเข้าสู่กระบวนการแยกโมเลกุลพลาสติกที่อุณหภูมิสูงหรือกระบวนการดีโพลิเมอไรเซชัน  (Depolymerization) ทำให้โมเลกุลพลาสติกที่อยู่ในรูปโพลีเมอร์แยกออกจากกัน เกิดเป็นพลาสติกในรูปของเหลว คือ คาร์โปรแลคแตม (Caprolactam) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิต PA 6 จากนั้นคาร์โปรแลคแตมจะเข้าสู่กระบวนการโพลิเมอไรเซชัน  (Polymerization) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาการเตรียมพอลิเมอร์จากมอนอเมอร์ ทำให้ได้ไนลอนชนิด PA 6

    - ไนลอน PA 6,6 นำไปตัดเป็นชิ้นเล็กๆ และบดย่อย ส่งเข้าเครื่องปั่นเหวี่ยง จากนั้นนำไปหลอมและฉีดให้เป็นเม็ด ทำให้ได้เม็ดไนลอน PA 6,6 ซึ่งสามารถขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์ (Moulding) เพื่อผลิตเป็นชิ้นส่วนยานพาหนะต่างๆ  หรือเข้าสู่กระบวนการ Depolymerization เพื่อให้เกิดเป็น       สารคาร์โปรแลคแตม ที่จะนำไปผลิตเป็นไนลอนชนิด PA  6 ผ่านทางกระบวนการโพลิเมอไรเซชัน 

    - เศษพรมไนลอนชนิดอื่นๆ และเศษเยื่อเสียที่มาจาก PA 6 และ PA 6,6 ให้ตัดเป็นชิ้นเล็กๆและบดย่อย ส่งเข้าเตาเผาให้ความร้อน ก่อนส่งเข้าสู่กระบวนการดีโพลิเมอไรเซชัน เกิดเป็นสาร     คาร์โปรแลคแตม



    กระบวนการที่ 2 การรีไซเคิลทางเคมี (Chemical recycling)

    - คัดแยกและรวบรวมของเสียผลิตภัณฑ์พรมไนลอน

    - ตัดของเสียพรมไนลอนผสมระหว่าง PA 6 และ PA 6,6 เป็นชิ้นเล็กๆ และบดย่อย

    - เข้าสู่กระบวนการแอมโมโนไลซิส (Ammonolysis) ที่อุณหภูมิ 300oC โดยใช้แอมโมเนียเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

    - เข้าสู่กระบวนการกลั่นและทำให้บริสุทธิ์ ทำให้ได้สารคาร์โปรแลคแตม (Caprolactam) และ    สาร 1,6 ไดอะมิโนเฮกเซน (1,6-Diaminohexane)

    - สารคาร์โปรแลคแตม เข้าสู่กระบวนการโพลิเมอไรเซชัน (Polymerization) ได้เป็นไนลอน PA  6

    - สาร 1,6 ไดอะมิโนเฮกเซน เข้าสู่กระบวนการโพลิเมอไรเซชันกับกรดเฮกเซนไดโออิก (Hexanedioic acid) ได้ไนลอนชนิด PA 6,6 


    ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
    เม็ดไนลอนชนิด PA 6 และ PA 6,6

    ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
    วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)

    ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
    - ลำดับที่ 53 (5) โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการทำพลาสติกเป็นเม็ด แท่ง ท่อ หลอด แผ่น ชิ้น ผง หรือรูปทรงต่าง ๆ

    กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2550


    แหล่งข้อมูลอ้างอิง

    [1] http://www.timesfreepress.com/news/2012/jul/24/7-24-c1-shaw-rolls-out-next-generation-carpet/

    [2] http://www.golfmate.co.th/nylon.php

    [3] Lave, L. et al. 1998. Recycling postconsumer nylon carpet: A case study of the economics and engineering issues associated with recycling postconsumer goods. Journal of industrial ecology. 2 (1) : 117 – 126.

    [4] http://www.greener-industry.org.uk/pages/nylon/8nylonPM3.htm