ฐานข้อมูลบัญชีของเสีย
กลุ่มของเสียครัวเรือน
ผลิตภัณฑ์ยาง

ประเภทของเสีย
กลุ่มยาง

ชนิดของเสีย
ผลิตภัณฑ์ยาง

ตัวอย่างของเสีย
ถุงมือ รองเท้า ที่นอน ฯลฯ

องค์ประกอบหลัก
- ยางธรรมชาติ

- ยางสังเคราะห์

คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- ยางธรรมชาติ

·    ความยืดหยุ่น : สูง

·    ความทนทาน

o  ทนทานต่อแรงดึงและแรงฉีกขาดสูงมาก

o  ทนทานต่อสารเคมีที่มีขั้ว เช่น อะซิโตน และแอลกอฮอล์

o  ทนทานต่อกรดอ่อนและด่างอ่อน

·    ความสามารถในการละลาย : ละลายได้ดีในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว เช่น เบนซีน โทลูอีน

- ยางสังเคราะห์

·    ความยืดหยุ่น : ไม่มีความยืดหยุ่น

·    ความทนทาน 

o  ทนทานต่อน้ำมัน

o  ทนทานต่อการขัดถู

o  ทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากสภาพอากาศ  โอโซน และแสงแดด


คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- ของเสียผลิตภัณฑ์ยางที่ไม่ปนเปื้อนด้วยสิ่งเจือปนต่างๆ เช่น เศษอาหาร คราบเลือด

- คราบน้ำมัน หรือสารเคมีอันตราย

กระบวนการรีไซเคิล
กระบวนการที่ 1 : กระบวนการเชิงกล (Mechanical process)

- คัดแยกและรวบรวมของเสียผลิตภัณฑ์ยาง

- ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ

- ส่งเข้าเครื่องบดผสมแบบ 2 ลูกกลิ้ง (Two-roll mixing mill) เพื่อบดละเอียด

- เพิ่มอุณหภูมิในเครื่องบด ~ 200oC เพื่อให้โมเลกุลของยางแตกและนิ่ม

- จากนั้นเข้าสู่กระบวนการทําลายพันธะเชื่อมขวางของกํามะถันในยางคงรูป หรือเรียกว่ากระบวนการดีวัลคาไนเซชั่น (Devulcanization) โดยการนำเศษยางไปแช่ในสาร Devulcanizing agent  ซึ่งในที่นี้คือ สารไดฟีนิลไดซัลไฟด์ (Diphenyl disulphide; C12H10S2) ซึ่งจะทำให้เกิดการสลายโครงสร้างสามมิติในยาง ส่งผลให้โมเลกุลของยางรวมทั้งพันธะกํามะถันที่อยู่ในโมเลกุลของยางเกิดการสลายตัวเปลี่ยนจากสภาพยางคงรูป ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง (Elasticity) กลับคืนสู่สภาวะแรกเริ่ม คือ ไม่มีความคงรูป (Unvulcanized) และไม่มีความยืดหยุน (Plasticity) ทำให้ได้เป็นยางรีเคลม (Reclaimed rubber) ที่สามารถนํากลับมาใช้ใหม่ได้อีก

- ยางรีเคลม สามารถนำไปผสมกับสารเคมีแล้วนำกลับเข้าสู่กระบวนการวัลคาไนเซชั่นอีกครั้ง (Vulcanization คือ กระบวนการทำให้โมเลกุลยางเชื่อมโยงกันก่อนที่จะนำไปใช้ประโยชน์)



กระบวนการที่ 2 : กระบวนการเชิงความร้อน (Thermal process) ด้วยวิธีการย่อย

- คัดแยกและรวบรวมของเสียผลิตภัณฑ์ยาง

- ตัดและบดย่อยให้ละเอียด

- นำเศษยางผสมกับสารทำลายเส้นใย น้ำ สารพลาสติกไซเซอร์ (Plasticizers เป็นสารที่เติมลงในโพลิเมอร์หรือพลาสติกเพื่อลดจุดหลอมที่ทำให้เกิดการไหลของพลาสติก ทำให้เม็ดพลาสติกมีความยืดหยุ่นและอ่อนนุ่มขึ้น สะดวกต่อการดึง รีด ฉาบ หรือหล่อแบบ) และสาร Reclaiming agent เพื่อช่วยให้เกิดกระบวนการรีเคลมได้เร็วขึ้น ซึ่งได้แก่ ซิงค์คลอไรด์ (ZnCl2) และแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) สารทำละลาย (Solvent) สารทำให้ยางนิ่ม ไฮโดรคาร์บอน เรซิน  ไม้สน และตัวเร่งปฏิกิริยา

- นึ่งยางในหม้อนึ่งความดัน 15 บาร์ และอุณหภูมิ 180oC เป็นเวลา 8 – 12 ชม.

- เมื่อยางนิ่มและอ่อนตัวลง  แยกสารละลายออก และนำยางไปอบแห้ง จะได้เป็นยางรีเคลม



กระบวนการที่ 3 : กระบวนการความร้อนร่วมเชิงกล (Thermo-mechanical reclaiming process)

- คัดแยกและรวบรวมของเสียผลิตภัณฑ์ยาง

- ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ

- แช่เศษยางในตัวทำละลาย และส่งเข้าเครื่องบดละเอียดเป็นผงคล้ายแป้ง

- ผงยางถูกนำไปทำลายพันธะเคมีที่อยู่ในยาง (Devulcanization) โดยการแช่ผงยางในสาร Devulcanizing agent เพื่อให้ได้เป็นยางรีเคลม



กระบวนการที่ 4 : กระบวนการเชิงกลร่วมเคมี (Mechano-chemical process)

- คัดแยกและรวบรวมของเสียผลิตภัณฑ์ยาง

- ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ขนาดประมาณ 1 × 1 × 1.5 นิ้ว

- นำชิ้นส่วนยางแช่ไนโตรเจนเหลว ก่อนส่งเข้าเครื่องบดย่อย เพื่อบดยางให้เป็นผงคล้ายแป้ง ผงยางถูกนำไปทำลายพันธะเคมีที่อยู่ในยาง (Devulcanization) ด้วยสารเคมีบางชนิด ทำให้ได้เป็นยางรีเคลม 


ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
ยางรีเคลม (Reclaimed rubber)

ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)

ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 52 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับยาง

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2550


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] Rubber product. Available from: http://www.navdeepakcorp.com/pd_rubber_products.php


[2] Eldho, A. et al. 2011. Recent advances in the recycling of rubber waste. Recent developments in Polymer Recycling, 2011: 47-100


[3] http://www.neoplast.biz/index.php?lay=show&ac=article&Id=174420&Ntype=1


[4] http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet7/yang.htm