ฐานข้อมูลบัญชีของเสีย
กลุ่มของเสียครัวเรือน
เศษแก้วผสม

ประเภทของเสีย
กลุ่มแก้ว

ชนิดของเสีย
เศษแก้วผสม

ตัวอย่างของเสีย
แก้วที่แตกแล้ว

องค์ประกอบหลัก
- ทรายแก้วหรือซิลิกา

- โซดาแอช

- หินปูนและหินโดโลไมต์ (Dolomite)

- เศษแก้ว

- สารประกอบออกไซด์ที่ทำให้เกิดสี

คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
N/A

คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- เศษแก้วแตกที่ไม่ปนเปื้อนด้วยสิ่งเจือปนต่างๆ เช่น เศษอาหาร คราบเลือด คราบน้ำมัน หรือสารเคมีอันตราย

กระบวนการรีไซเคิล
- คัดแยกและรวบรวมของเสียเศษแก้วแตก

- บดจนเป็นผงละเอียด

- นำไปผสมกับปูนขาวหรือแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) และน้ำ

- ผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เป็นเนื้อเดียวกัน

- นำไปอัดขึ้นรูปให้เป็นกระเบื้อง ขนาด 10 x 10 x 0.6 ซม.

- นำผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นรูปแล้วไปบ่มด้วยไอน้ำอิ่มตัวยิ่งยวดที่มีอุณหภูมิและความดันสูงได้เป็นกระเบื้องจากเศษแก้วที่สามารถนำไปใช้งานตามต้องการ

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
กระเบื้อง

ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)

ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 54 โรงงานผลิตแก้ว เส้นใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์แก้ว

- ลำดับที่ 55 โรงงานผลิตภัณฑ์เครื่องกระเบื้องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา หรือเครื่องดินเผา

- ลำดับที่ 106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2550


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] http://home.kku.ac.th/recycle/price-tan.htm

[2] http://www2.mtec.or.th/th/research/GSAT/glassweb/type.html

[3] https://sites.google.com/site/puifaict/h/2-1

[4] อนุชา วรรณก้อน, ต้นแบบกระเบื้องจากเศษแก้วที่ผลิตโดยวิธีอบไอน้ำที่ความดันสูง, รายงานเชิงเทคนิค  ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

Available from: http://www.mtec.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=1055&Itemid=176