ฐานข้อมูลบัญชีของเสีย
กลุ่มของเสียครัวเรือน
กระดาษหนังสือพิมพ์

ประเภทของเสีย
กลุ่มกระดาษ

ชนิดของเสีย
กระดาษหนังสือพิมพ์

ตัวอย่างของเสีย
กระดาษหนังสือพิมพ์ชนิดและขนาดต่างๆ  

องค์ประกอบหลัก
- เส้นใย : เยื่อบริสุทธิ์และเยื่อเวียนทำใหม่ (Recycled pulp)

- สารเติมแต่งต่างๆ (Additives)


คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- น้ำหนัก : 40 – 50 g.m-2

- ความหนา : 60 – 80 µm

- ความหนาแน่น (Density) : 0.61 – 0.69 g.cm-3

- ปริมาณความชื้น (Moisture content) : 7.5 – 9.5%

- ปริมาณขี้เถ้า (Ash content) : 0 – 12%

- ความขาวสว่าง (Brightness) : 62 – 65%ISO

- ความทึบแสง (Diffuse opacity) : 90 – 94%

- ความทนต่อแรงดึง (Tensile strength) : 45 – 60 Nm.g-1 (ด้านขนานเครื่อง Machine direction; MD)


คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- ของเสียกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ไม่ปนเปื้อนด้วยสิ่งเจือปนต่างๆ เช่น เศษอาหาร คราบเลือด คราบน้ำมัน หรือสารเคมีอันตราย


กระบวนการรีไซเคิล
-  คัดแยกและรวบรวมของเสียกระดาษหนังสือพิมพ์

-  นำกระดาษไปต้มเพื่อให้ได้เยื่อกระดาษ

-  กำจัดหมึกพิมพ์ออกจากเยื่อกระดาษ ด้วยการเติมสารลดแรงตึงผิว (Soap-like surfactants)

-  ผ่านตะแกรงร่อน เพื่อแยกสิ่งสกปรกออก

-  ฟอกเยื่อกระดาษและผสมเยื่อกระดาษบริสุทธิ์ลงไป เพื่อให้เยื่อกระดาษมีความแข็งแรงขึ้น

-  ไล่น้ำออกจากเยื่อที่สะอาด และทำให้แห้ง

-  เยื่อกระดาษรีไซเคิล หรือเยื่อเวียนทำใหม่ (Recycled pulp) สามารถนำไปผ่านลูกกลิ้ง ขึ้นรูปและอัดเป็นแผ่นเรียบ เพื่อผลิตกระดาษหนังสือพิมพ์ต่อไป


ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
เยื่อเวียนทำใหม่ (Recycled pulp)

ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)

ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 38 โรงงานผลิตเยื่อหรือกระดาษ

- ลำดับที่ 39 โรงงานผลิตภาชนะบรรจุจากกระดาษทุกชนิดหรือแผ่นกระดาษไฟเบอร์

- ลำดับที่ 40 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับเยื่อ กระดาษ หรือกระดาษแข็ง


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2550


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

[1] http://home.kku.ac.th/recycle/price-tan.htm


[2] http://www.paperonweb.com


[3] http://pages.uoregon.edu/recycle/after_collection.html#newspaper


[4] http://www.ehow.com/how-does_5161472_newspaper-recycling process.html]