ประเภทของเสีย
กลุ่มของเสียอื่นๆ
ชนิดของเสีย
แบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรด
ตัวอย่างของเสีย
แบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรดที่ผ่านการใช้งานแล้วจากกระบวนการผลิต
องค์ประกอบหลัก
- ตะกั่ว (Lead; Pb) : 10-15%
- น้ำกรด (Acid water) : 70-75%
- โพลีโพรไพลีน (Polypropylene; PP) : 5-10%
คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีประเภทตะกั่ว [อ้างอิง 3]
- ความหนาแน่น (Density) : 11.34 g•cm-3
- จุดหลอมเหลว (Melting point) : 327.46 °C
- จุดเดือด (Boiling point) : 1749 °C
คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีประเภทน้ำกรด [อ้างอิง 3]
- ความหนาแน่น (Density) : 1.84 g•cm-3
- จุดหลอมเหลว (Melting point) : 10 °C
- จุดเดือด (Boiling point) : 290 °C
คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีประเภทโพลีโพรไพลีน [อ้างอิง 4] [อ้างอิง 5]
- ความหนาแน่น (Density) : 0.84-0.91 g•cm-3 (ที่ 20°C)
- ดัชนีหักเหแสง (Refractive index) 1.49-1.51 (ที่ 20°C)
- ความมัว (Haze) : 14%
- จุดหลอมเหลว (Melting point) : 120-176°C
- จุดอ่อนตัว (Softening point) : 155-161°C
- ค่าสัมประสิทธ์การขยายตัวเนื่องจากความร้อน (Thermal expansion coefficient) : 1.05x10-4°C-1
- ค่าการนำความร้อน (Thermal conductivity) : 0.17-0.22 W•m-1•K-1
- อุณหภูมิการเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้ว (Glass transition temparature) : (-15)°C
- อุณหภูมิการคงรูปทางความร้อน (Heat deflection temperature; HDR) : 85-107°C
(ที่ 0.45 MPa) และ 42-54°C (ที่ 1.8 MPa)
- ค่าการสูญเสียพลังงานเนื่องจากสารทีเป็นฉนวน (Dissipation factor): 0.0005 (ที่ 100 Hz) และ 0.0005 (ที่ 1 MHz)
- สภาพต้านทานไฟฟ้า (Electrical resistivity) 1x1012 -1x10-15Ω•m-1
- อัตราการซึมผ่านของไนโตรเจน (Permeability to nitrogen) 0.033 barrer
- อัตราการซึมผ่านของออกซิเจน (Permeability to oxygen) 0.17 barrer
- ความทนต่อแรงดึง (Tensile Strength) 1400 N•mm-2
- ความแข็งของร็อคเวลล์ (Rockwell Hardness) : R 95
- ความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) : 70 N•mm-2
คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
ไม่ระบุคุณสมบัติเฉพาะ สามารถเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ทันที
กระบวนการรีไซเคิล
- คัดแยกสารปนเปื้อนที่ไม่ใช่แบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรด
- เทน้ำออกจากกล่องแบตเตอรี่
- ดึงแผ่นตะกั่วชนิดออกจากแบตเตอรี่
- กระบวนการหลอม
- กระบวนการอัดแท่ง
- กล่องแบตเตอรี่ชนิดโพลีโพไพลีน
- กระบวนการหลอม
- กระบวนการอัดเม็ด
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
- แท่งตะกั่ว
- เม็ดพลาสติกชนิดโพลีโพไพลีน
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
- วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)
ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 44 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตยางเรซินสังเคราะห์ ยางอีลาสโตเมอร์ พลาสติก หรือเส้นใยสังเคราะห์ซึ่งมิใช่ใยแก้ว
- ลำดับที่ 53 (5) โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการทำพลาสติกเป็นเม็ด แท่ง ท่อ หลอด แผ่น ชิ้น ผง หรือรูปทรงต่าง ๆ
- ลำดับที่ 53 (8) โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการอัดพลาสติกหลายๆ ชั้นเป็นแผ่น
- ลำดับที่ 53 (9) โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการล้าง บด หรือย่อยพลาสติก
- ลำดับที่ 59 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการถลุง หลอม หล่อ รีด ดึง หรือผลิตเหล็ก หรือเหล็กกล้าในขั้นต้น
ลำดับที่ 60 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการถลุง ผสม ทำให้บริสุทธิ์ หลอม หล่อ รีด ดึง หรือผลิตโลหะในขั้นต้นซึ่งไม่ใช่เหล็กหรือเหล็กกล้า
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550
- พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
- พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
- ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548
- ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการ สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ของผู้ประกอบกิจการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2550
- ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยเรื่องรายละเอียดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 105 และลำดับที่ 106 พ.ศ. 2545
- ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง เงื่อนไขในการอนุญาตให้นำเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้วที่เป็นวัตถุอันตรายเข้ามาในราชอาณาจักร
- ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การรายงานข้อมูลต่างๆ ของโรงงานหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่า
- ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบกิจการโรงงานหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่า
- มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 6/2536 เรื่อง ห้ามนำเข้าแบตเตอรี่ใช้แล้วหรือแผ่นธาตุที่อยู่ในแบตเตอรี่ใช้แล้วมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตตะกั่วแท่ง
- ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไข สำหรับแบตเตอรี่ที่ใช้วัตถุดิบ หรือส่วนประกอบในการผลิตจากแบตเตอรี่ที่ได้เสียภาษีสรรพสามิตแล้ว
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
[1] http://www.tradekorea.com/products/Lead_Acid_Battery.html
[2] http://www.yuasathai.com
[3] http://www.pharm.su.ac.th
[4] George Wypych, 2012, Handbook of polymer, Chemtec Publishing, Toronto, pp.479-486
[5] http://www.chemtrack.org
[6] Rader, Charless P, Baldwin, Sheryl D, Cornell, David D, Sadler, Georoge D, Stockel and Richaed F, 1995, Plastics, rubber and paper recycling