ประเภทของเสีย
กลุ่มกระดาษ
ชนิดของเสีย
กระดาษลังและกระดาษแข็ง
ตัวอย่างของเสีย
เศษกระดาษลัง และกระดาษแข็งจากการขนส่งชิ้นงาน
องค์ประกอบหลัก
- เซลลูโลส (Cellulose) : 35 - 47%
- เฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose) : 35 - 47%
- สารเติมแต่ง (Additive) : 5 - 30%
คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- น้ำหนักกระดาษ (Mass) : 49 g•m-2
- ความหนา (Thickness) : 0.085 mm
- ลักษณะ : สีน้ำตาล
- ความหนาแน่น (Density) : 1.5 g•cm-3
- ความสามารถในการละลายน้ำ (Solubility in water) : ไม่ละลาย (none)
คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- ไม่ระบุคุณสมบัติเฉพาะ สามารถเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ทันที
กระบวนการรีไซเคิล
- แยกสิ่งปนเปื้อนที่ไม่ใช่กระดาษลังและกระดาษแข็งออก
- -ดูลักษณะทางกายภาพว่ากระดาษลังและกระดาษแข็งปนเปื้อนสารเคมีหรือไม่
- ปนเปื้อนสารเคมี (ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ)
- ไม่ปนเปื้อนสารเคมี
- โรงงานเยื่อกระดาษ
- ตีเยื่อกระดาษผสมกับเยื่อกระดาษบริสุทธิ์
- ผลิตเป็นกระดาษแผ่นเรียบติดผิวหน้ากระดาษลอนลูกฟูก
- ผสมกาว
- กระบวนการขึ้นรูปเป็นแผ่น
- ไล่น้ำออกจากเยื่อกระดาษเพื่อทำให้แห้ง และกรอเป็นม้วน
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
- เชื้อเพลิงชนิดลังกระดาษ/กระดาษแข็ง
- ม้วนเยื่อกระดาษ
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
- วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)
- เชื้อเพลิงทดแทน (Alternative fuel)
ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 38 โรงงานผลิตเยื่อ หรือกระดาษ
- ลำดับที่ 39 โรงงานผลิตภาชนะบรรจุจากกระดาษทุกชนิดหรือแผ่นกระดาษไฟเบอร์
- ลำดับที่ 40 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับเยื่อกระดาษ หรือกระดาษแข็ง
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550
- พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
- พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
- ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548
- ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ของผู้ประกอบกิจการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2550
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
[1] http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=mamamonkey&month=25-06-2009&group=4&gblog=2
[2] http://www.doubleapaper.com/assets/media/paper_element1.pdf
[3] http://www.doubleapaper.com
[4] http://www.ask.com
[5] Haiping Tang, Rong Yan, Hanping Chen, Dong Ho Lee and Chuguang Zheng, 2007, "Characteristics of hemicellulose, cellulose and lignin pyrolysis", Fuel, Vol.86, pp.1781-1788.]
[6] http://www.vcharkarn.com/varticle/38383
[7] http://www.pages.uoregon.edu/recycle/after_collection.html#newspaper
[8] Rader, Charless P, Baldwin, Sheryl D, Cornell, David D, Sadler, Georoge D, Stockel and Richaed F, 1995, Plastics, rubber and paper recycling