ประเภทของเสีย
กลุ่มกระดาษ
ชนิดของเสีย
กระดาษขาว – ดำ
ตัวอย่างของเสีย
กระดาษเอกสาร กระดาษรายงาน ฯลฯ
องค์ประกอบหลัก
- เส้นใย : เยื่อบริสุทธิ์
- สารเติมแต่งต่างๆ (Additives)
- สารตัวเติม (Filler) : แคลเซียมคาร์บอเนตชนิดตกตะกอน (Precipitated CaCO3)
- สารต้านการซึมน้ำ (Sizing-agent) : อัลคินิล ซัคซินิก แอนไฮไดรด์ (Alkenyl succinic anhydride) ในปริมาณต่ำ
- สารเพิ่มความเหนียว : แป้งแปรรูปที่ใช้การเพิ่มความเหนียว (Wet-end starch) และแป้งแปรรูปที่ใช้เคลือบผิวกระดาษ (Size-press starch)
- สารฟอกนวล (Optical brightening agent; OBA) หรือสารเพิ่มความขาวสว่าง
- สารควบคุมจุลชีวะ (Microbiological control agent หรือ biocide)
- สารเพิ่มการตกค้าง (Retention aid) : โพลิเมอร์ประจุบวก (Cationic polymer) และดินเหนียวประจุลบ (Anionic clay)
คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
- น้ำหนัก : 40 – 120 g.cm-2
- ความหนา : 105 – 110 µm
- ปริมาณความชื้น (Moisture content) : 4 – 4.5%
- ความขาวสว่าง (Brightness) : 80 – 95%ISO
- วามมันวาว (Gloss) : 4 – 6 at 75o
- ค่าการดูดซึมน้ำของกระดาษ (Cobb values) : 22 – 26 g.m-2
- ความพรุน (Porosity) : 500 – 1,500 ml.min-1 (โดยเครื่องทดสอบแบบ Bendtsen)- สัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน (Co-efficient of friction) :
- Static friction : (- 0.65)
- Kinetic friction : 0.35 – 0.5
- ความต้านแรงฉีกขาด (Tearing resistance) สำหรับกระดาษ 80 g.m-2 : 500 – 600 mN (โดยใช้เครื่องทดสอบแรงฉีกขาดแบบ Elmendorf)
คุณสมบัติของของเสียสำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
- ของเสียกระดาษขาวที่ผ่านการพิมพ์ด้วยหมึก
- ของเสียกระดาษชนิดที่ไม่เคลือบมัน
- ของเสียกระดาษที่ไม่ปนเปื้อนด้วยสิ่งเจือปนต่างๆ เช่น เศษอาหาร คราบเลือด คราบน้ำมัน หรือสารเคมีอันตราย
กระบวนการรีไซเคิล
- คัดแยกและรวบรวมของเสียกระดาษขาว˗ดำ
- นำกระดาษไปต้มเพื่อให้ได้เยื่อกระดาษ
- นำเยื่อกระดาษมาผ่านตะแกรงร่อนขนาดต่างๆ เพื่อแยกสิ่งสกปรกออก
- กำจัดหมึกพิมพ์ออกจากเยื่อกระดาษ ด้วยการเติมสารลดแรงตึงผิว (Soap-like surfactants) จะได้เยื่อกระดาษที่ขาว
- ไล่น้ำออกจากเยื่อกระดาษขาว และทำให้แห้ง
- เยื่อกระดาษรีไซเคิล หรือเรียกว่าเยื่อเวียนทำใหม่ (Recycled pulp)
- เยื่อเวียนทำใหม่ สามารถนำไปผ่านลูกกลิ้ง เพื่อขึ้นรูปเป็นแผ่นและอัดให้แผ่นกระดาษเรียบ นำส่งโรงงานผลิตกระดาษพิมพ์เขียนต่อไป
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิล
เยื่อเวียนทำใหม่ (Recycled pulp)
ลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์
วัตถุดิบทดแทน (Alternative raw material)
ประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการรีไซเคิล
- ลำดับที่ 38 โรงงานผลิตเยื่อ หรือกระดาษ
- ลำดับที่ 39 โรงงานผลิตภาชนะบรรจุจากกระดาษทุกชนิดหรือแผ่นกระดาษไฟเบอร์
- ลำดับที่ 40 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับเยื่อกระดาษ หรือกระดาษแข็ง
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2550
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
[1] http://home.kku.ac.th/recycle/price-tan.htm
[2] http://www.doubleapaper.com/about_paper.asp
[3] http://www.paperonweb.com
[4] http://www.sustainpack.com/aap_rwp.html